ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกร ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2025.1004คำสำคัญ:
พฤติกรรม, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช , เกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรในตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ได้จำนวนเกษตรกร 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางใช้สถิติโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation)
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.10 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 2.32 ความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่า อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 9.65 ผลการวิเคราะห์แผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรง อยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมี พบว่า การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (r=0.117*) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และการรับรู้โอกาสเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (r = .253**) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
References
กรมวิชาการเกษตร. (2565). การนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร. สืบค้นจาก https://data.go.th/dataset/importchemvol
ชัยกฤต ยกพลชนชัย, ญาณิฐา แพงประโคน, จรัญ บุญเชื้อ และ อโนชา ปัญญาพงษ์. (2565). ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยการใช้สารเคมีในเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 6(3), 1016-1027. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/259089/177256
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นัสพงษ์ กลิ่นจำปา และ ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2562). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรตำบลป่าไม้งามอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, 25(2), 26-34. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/187344
บัวทิพย์ แดงเขียน, พิมพรรณ รัตนโกมล, อัศวเดช สละอวยพร และ มณฑาทิพย์ สุรินทร์อาภรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 107-122. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/122753/93472
พนิดา จงสุขสมสกุล และ ศตพรรษ โตอินทร. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะที่ดีของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีในสวนส้ม: กรณีศึกษา ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5276?locale-attribute=th
มงคล รัชชะ, สุรเดช สําราญจิตต์, จุฑามาศ แสนท้าว และ ศรราม สุขตะกั่ว. (2560). พฤติกรรมการป้องกัน อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านทุ่งนางครวญ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(2), 84-94. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/95921/74898
มณีรัตน์ สวนม่วง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, มลินี สมภพเจริญ และ ดุสิต สุจิรารัตน์. (2564). ความรู้และ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่น. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 1-11. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/252374/172217
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, ปภาดา รักมีศรี, วราภรณ์ บุญเชียง, นุชยงค์ เยาวพานนท์ ,ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร และ อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตภาคเหนือ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 15(1), 111-124. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/248443
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์, สุรีย์ จันทรโมลี, ศิริวรรณ วิเศษแก้ว และ ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม. (2563). พฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(1), 58-70. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/240262/164171
ศิริพร สมบูรณ์, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ยุวดี วิทยพันธ์ และ ศิปภา ภุมมารักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 25(3), 1-13. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/download/163654/118477/
ศิริวรรณ แก้วสุขเรือง และ สรัญญา ถี่ป้อม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายของเกษตรกรปลูกข้าว ตำบลไกรกลาง อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 186-199. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/download/207969/144704/
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ผลกระทบสารเคมีปราบศัตรูพืช. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2019/08/17468
เอกชัย กัลยา. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรในพื้นที่ขยายผล โครงการหลวงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2019/08/17468
Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/109019817400200405
Bloom, B. S. (1956). A Taxonomy of Educational Objectives: Handbook I The Cognitive Domain. Longman, Green Co., New York.
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall
Floyd, D. L., Prentice-Dunn, S., & Rogers, R. W. (2000a). A meta-analysis of research on Protection Motivation Theory. Journal of Applied Social Psychology, 30(1), 106- 143. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1559-1816.2000.tb02323.x
Janz, N. K., & Becker, M. H. (1984). The health belief model : a decade later. Health Educ Q, 11(1), 1-47. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/109019818401100101
Rosenstock, (1974). The Health Belief Model and preventive health. Health Educ Monographs.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ