การจัดกลุ่มจังหวัดในประเทศไทยด้วยปัจจัยประชากรศาสตร์และระบาดวิทยา ของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • วัฒนา ชยธวัช สาขาการแพทย์แผนไทย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.450

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์กลุ่ม , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) , อัตราการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ได้มีการระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ธันวาคม 2562 การจัดกลุ่มพื้นที่เป็นมาตรการสำคัญในการบริหารจัดการโรคติดเชื้อนี้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์กลุ่มจังหวัดจากข้อมูลความหนาแน่นของประชากร ขนาดครัวเรือน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน อัตราการติดเชื้อ และอัตราการเสียชีวิต จากการวิเคราะห์กลุ่มโดยใช้ K-mean clustering พบว่า สามารถจัดกลุ่มจังหวัดได้เป็น 4 กลุ่ม จำแนกตามอัตราการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิต กลุ่ม 1 ปานกลาง จำนวน 23 จังหวัด กลุ่ม 2 และ 4 ต่ำ จำนวน 28 และ 21 จังหวัด ตามลำดับ และกลุ่ม 3 สูง จำนวน 5 จังหวัด เมื่อทำการแจกแจงจังหวัดตามการวิเคราะห์กลุ่มและการจัดจังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ย่อยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (24 มกราคม 2565) ของศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ที่จัดเป็นพื้นเป็นที่ควบคุม (สีส้ม) 44 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 25 จังหวัด และ พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 8 จังหวัด ทำให้สามารถจำแนกระดับของจังหวัดพื้นที่ในแต่ละสีว่ายังมีอัตราการติดเชื้อและอัตราการตายอีกสีละ 3 ระดับ (สูง กลุ่ม 3 กลาง กลุ่ม 1 และ ต่ำ กลุ่ม 2 และ 4) ด้วย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้

References

กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายสัปดาห์ ในรูปแบบ API (JSON/CSV Data Format) ณ. วันที่ 30 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก https://covid19.ddc.moph.go.th/api/Cases/today-cases-by-provinces

กรมควบคุมโรค. (2564). การจัดกลุ่มประเทศและดินแดนตามความเสี่ยงสถานการณ์โรคโควิด-19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/จัดกลุ่มประเทศตามความเสี่ยง กรมควบคุมโรค 1 สค 64.pdf

กรมควบคุมโรค. (2563). กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และคำแนะนำการเดินทางที่ปลอดภัย สำหรับคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงโควิด-19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/dcd/pagecontent.php?page=204&dept=dcd

โครงการ SAT COVID Dashboard. (2566). สถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์ ปรับปรุงล่าสุด 1 มกราคม 2566. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

รัฐบาลไทย. (2565). ข่าวคณะโฆษก: กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59491

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2565). "หมอยง" ชี้โควิดระบาดรอบนี้ นับเป็นระลอก 6 ยังไม่พีคสุด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2022/07/25500

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบมาตรการป้องกัน “โควิด” รองรับการเข้าประเทศ พร้อมตั้งคณะอนุฯ บริหารแบบไร้รอยต่อ. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/184448/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ก). 1 สถิติประชากรและการเคหะ. จำนวนประชากรจากการทะเบียน ชาย หญิง เนื้อที่ ความหนาแน่น และบ้าน จำแนกตามภาค และจังหวัด พ.ศ. 2555-2564. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565ข). 8 สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ. 2547 – 2564. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). (2565). สรุปการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ครั้งที่ 2/2565 วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2565. สืบค้นจาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/200165.pdf

Everitt, B. S., Landau, S., Leese, M., & Stahl D. (2011). Cluster Analysis. 5th ed. West Sussex: John Wiley & Sons.

Evgeniou, T. (n.d.). Cluster Analysis and Segmentation What is this for? Retrieved from https://inseaddataanalytics.github.io/INSEADAnalytics/CourseSessions/Sessions45/ClusterAnalysisReading.html

Hammer, Ø. (2022). Past 4 - the Past of the Future. Current version (December 2022): 4.12 Version 4.09, 32-bit Windows (7 MB). Retrieved from https://www.nhm.uio.no/english/research/resources/past/

Herawati, N., Nisa, K., & Saidi, S. (2022). Implementation of the trimmed k-means clustering method in mapping the distribution of Covid-19 in Indonesia. AIP Conference Proceedings, 050012, 1-12. https://doi.org/10.1063/5.0103175

Kumar, S. (2020). Use of cluster analysis to monitor novel coronavirus-19 infections in Maharashtra, India. Indian J Med Sci, 72(2), 44–8. DOI: 10.25259/IJMS_68_2020. PMCID: PMC7485640

Tan, P-N., Steinbach, M., & Kumar, V. (2018). Introduction to Data Mining. 2nd ed. London: Pearson+.

Raj, A., Bhattacharyya, P., & Gupta, G. R. (2022). Clusters of COVID-19 Indicators in India: Characterization, Correspondence and Change Analysis. SN Comput Sci., 3(3), 210. DOI: 10.1007/s42979-022-01083-3. Epub 2022 Apr 5. PMID: 35400015; PMCID: PMC8981186.

Sadeghi B., Cheung R.C.Y., and Hanbury M. (2021). Using hierarchical clustering analysis to evaluate COVID-19 pandemic preparedness and performance in 180 countries in 2020. BMJ Open, 11(11), e049844. doi: 10.1136/bmjopen-2021-049844

Sengupta, P., Ganguli, B., SenRoy, S., & Chatterjee, A. (2021). An analysis of COVID-19 clusters in India. BMC Public Health, 21, 631. https://doi.org/10.1186/s12889-021-10491-8

The Data Science Lab. (2013). Finding the K in K-Means Clustering. Retrieved from https://datasciencelab.wordpress.com/2013/12/27/finding-the-k-in-k-means-clustering/

Zargar, S, A., Islam, T., Rehman, I. U., & Pandey, D. (2021). Use of Cluster Analysis to Monitor Novel Corona Virus (COVID-19) Infections in India . Asian Journal of Advances in Medical Science, 3(1), 32-38. https://mbimph.com/index.php/AJOAIMS/article/view/1908

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10

How to Cite

ชยธวัช ว. (2023). การจัดกลุ่มจังหวัดในประเทศไทยด้วยปัจจัยประชากรศาสตร์และระบาดวิทยา ของโควิด-19 . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(1), 1–18. https://doi.org/10.57260/stc.2023.450