การพัฒนาสื่อการสอน แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แม่ฮ่องสอนเมืองสามหมอก
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.497คำสำคัญ:
แอนิเมชัน 2 มิติ , ภูมิปัญญา , วิถีชีวิต , วัฒนธรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แม่ฮ่องสอนเมืองสามหมอก 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนชุมชนต่อแพวิทยา จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนแอนิเมชัน 2 มิติ 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องแม่ฮ่องสอนเมืองสามหมอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สามารถนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการสอนในรายวิชา สังคมศึกษาได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.54 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.63
References
ชาญศักดิ์ พบลาภ. (2556). การศึกษารูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกา เพื่อการออกแบบหนังสือประกอบการเรียน สำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. Veridial E-Journal, SU, 6(1), 536-547. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/28397
ณัฐชัย เจริญสุข , ภาณุวัตร รอดเชียง, ชานนทร์ ลีลาพิพิธพัฒน์ และ ศิริพล แสนบุญส่ง. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนสำหรับสื่อแอนิเมชัน เรื่อง ผจญภัยโลกเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดอินกัลยา. 2(2), 104-115. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/view/242621
ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอภาส. (2559). การออกแบบตัวละครพื้นฐานสำหรับเด็ก. วารสารวิชาการศรีปทุม, 12(5), 181-189. https://www.chonburi.spu.ac.th/journal/booksearch/book_update_count.php?id=1539&read=30&name=1539-03-content_20.pdf
ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล (2547). การสร้างภาพยนตร์ 2D แอนิเมชัน (How to make 2D Animation). กรุงเทพฯ : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี.
วราวัฒน์ นิ่มอนงค์. (2563). ADDIE Model กับการออกแบบสื่อให้ปังกว่าเดิม. สืบค้นข้อมูลจาก https://inskru.com/idea/-MLCRe1sMhuZj-0jOYMU
อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ