ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สมาร์ทโฟนในผู้สูงอายุชาติพันธุ์ พื้นที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สายหยุด มูลเพ็ชร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ณัทธร สุขสีทอง ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วิทญา ตันอารีย์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สามารถ ใจเตี้ย ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ศุภิสรา ดิหน่อโพ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ธีระพงษ์ จะหละ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยั้งเมิน
  • ถาวร ล่อกา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.511

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, กลุ่มชาติพันธุ์ , สมาร์ทโฟน , ความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัล , การยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการใช้สมาร์ทโฟน ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สมาร์ทโฟน และเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลในผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้และไม่ใช้สมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและลีซอ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 174 คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 288 คน ซึ่งคำนวณโดยใช้สูตรของของ Daniel กำหนดระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95 % และความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5 % ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดสอบความเชื่อมั่นด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัล และด้านการยอมรับเทคโนโลยี ได้ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach's alpha เท่ากับ 0.88 และ 0.70 ตามลำดับ สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Binary Logistic regression และ Mann-Whitney U test

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีอายุเฉลี่ย 71.20 ปี เป็นเพศหญิง จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 54 ผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ทโฟนคิดจำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 35.10 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สมาร์ทโฟนของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (Adjusted odd ratio 2.70, 95% CI: 1.15-6.30)  อายุน้อยกว่า 75 ปี (Adjusted odd ratio 4.35, 95% CI: 1.12-16.85)  มีโรคประจำตัว (Adjusted odd ratio 3.12, 95% CI: 1.12-8.85) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ประโยชน์ (Adjusted odd ratio 7.22, 95% CI 1.58-32.98) และการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้สมาร์ทโฟน (Adjusted odd ratio 13.36, 95% CI 2.47-72.16) ค่ามัธยฐานความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลในผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ทโฟนสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้สมาร์ทโฟนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01)

การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์มีความการยอมรับเทคโนโลยี ส่งเสริมให้รับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้สมาร์ทโฟนจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

มูลเพ็ชร์ ส., สุขสีทอง ณ., ตันอารีย์ ว., ใจเตี้ย ส., ดิหน่อโพ ศ. ., จะหละ ธ. ., & ล่อกา ถ. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้สมาร์ทโฟนในผู้สูงอายุชาติพันธุ์ พื้นที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(3), 25–38. https://doi.org/10.57260/stc.2023.511