การศึกษาปริมาณโซมาติกเซลล์ในน้ำนมของโคที่รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อการรักษาโรคเต้านมอักเสบ

ผู้แต่ง

  • มธุพานี แก้วก่ำ หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มนกานต์ อินทรกำแหง หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมการเกษตรเพื่อการปศุสัตว์สมัยใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.517

คำสำคัญ:

โรคเต้านมอักเสบในโคนม , ยาปฏิชีวนะ , ปริมาณโซมาติกเซลล์

บทคัดย่อ

โรคเต้านมอักเสบในโคนมทำให้เกิดการสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลง คุณภาพน้ำนมที่ด้อยลง และอาจติดเชื้อเรื้อรังจนต้องคัดทิ้งแม่โคได้ ยาปฏิชีวนะหลายชนิดได้ถูกใช้ในฟาร์มเพื่อการรักษาโรคเต้านมอักเสบโดยเกษตรกรจะไม่นำนมจากโคในระหว่างการรักษาและระยะหยุดยาไปยังศูนย์รวบรวมน้ำนมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะในน้ำนม พบปัญหาว่าเกษตรกรบางรายอาจใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบตามที่กำหนดในฉลากยาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งทำให้เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะในระยะยาว และเกิดโรคเต้านมอักเสบในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้จึงได้เปรียบเทียบปริมาณโซมาติกเซลล์ในน้ำนมของโคที่เป็นโรคเต้านมอักเสบที่ใช้และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยกลุ่มตัวอย่างน้ำนมโคทั้งหมด 44 ตัวอย่าง ประกอบด้วย น้ำนมจากโคที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ 24 ตัวอย่าง และน้ำนมจากโคที่ได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาโรคเต้านมอักเสบ 20 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่าน้ำนมจากโคที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นน้ำนมที่มีปริมาณโซมาติกเซลล์สูง ค่าเฉลี่ย 2775 ×103 cell/mL ส่วนน้ำนมจากโคที่อยู่ในระหว่างการรักษาโรคเต้านมอักเสบด้วยยาปฏิชีวนะเป็นน้ำนมที่มีปริมาณโซมาติกเซลล์ค่าเฉลี่ย 1856 ×103 cell/mL การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ปริมาณโซมาติกเซลล์ เพื่อบ่งชี้ภาวะอักเสบในเต้านม  ผลจากการใช้ยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะทั้งชนิดสอดเต้านมและชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้ทำให้ภาวะการอักเสบในเต้านมลดลงและปริมาณโซมาติกเซลล์ที่ลดลง การตรวจนับจำนวนโซมาติกเซลล์ในน้ำนมเป็นวิธีการตรวจประเมินสุขภาพเต้านมที่เกษตรกรสามารถทำได้โดยมีค่าใช้จ่ายไม่มาก เกษตรกรสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงจำนวนโซมาติกเซลล์ในน้ำนม เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคเต้านมอักเสบได้

References

Abdi, R. D., Gillespie, B. E., Ivey, S., Pighetti, G. M., Almeida, R. A., & Dego, O. K. (2021). Antimicrobial resistance of major bacterial pathogens from dairy cows with high somatic cell count and clinical mastitis. Animals, 11(1), 131. https://doi.org/10.3390/ani11010131

Ishihara K., Sunagawa, C., Haneishi, T., Miyaguchi, N., Endo, N., & Tanaka, T. (2020). Comparison of antimicrobial susceptibilities of bacterial isolates between cured and uncured cases of bovine mastitis. The Journal of Veterinary Medical Science, 82(7), 903–907. https://doi:10.1292/jvms.19-0692

Kalmus, P., Simojoki, H., Orro, T., Taponen, S. , Mustonen, K., Holopainen, J., & Pyörälä, S. (2014). Efficacy of 5-day parenteral versus intramammary benzylpenicillin for treatment of clinical mastitis caused by gram-positive bacteria susceptible to penicillin in vitro. Journal of Dairy Science, 97(4), 2155-2164. https://doi.org/10.3168/jds.2013-7338

Petersson K.H., Connor, L.A., Petersson-Wolfe, C.S., & Rego, K.A.. (2011). Evaluation of confirmatory stains used for direct microscopic somatic cell counting of sheep milk. Journal of Dairy Science, 94(4), 1908-1912. https://doi.org/10.3168/jds.2010-3574

Reyes, J., Chaffer,M., Sanchez, J., Torres, G., Macias, D., Jaramillo, M., Duque, P.C., Ceballos, A., & Keefe, G.P. (2015). Evaluation of the efficacy of intramuscular versus intramammary treatment of subclinical Streptococcus agalactiae mastitis in dairy cows in Colombia. Journal of Dairy Science, 98(8), 5294–5303. https://doi.org/10.3168/jds.2014-9199

Schukken Y. H., Wilson, D., Welcome, F., Garrison-Tikofsky, L., & Gonzalez, R. (2003). Monitoring udder health and milk quality using somatic cell counts. Veterinary Research, BioMed Central, 34(5), 579-596. DOI: 10.1051/vetres:2003028

Sérieys F., Raguet, Y., Goby, L., Schmidt, H., & Friton, G. (2005). Comparative efficacy of local and systemic antibiotic treatment in lactating cows with clinical mastitis. Journal of Dairy Science, 88(1), 93-99. https://doi.org/10.3168/jds.S0022-0302(05)72666-7

Sharma, N., Singh, N. K., & Bhadwal, M. S. (2011). Relationship of Somatic Cell Count and Mastitis: An Overview. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 24(3), 429-438. https://doi.org/10.5713/ajas.2011.10233

Tomanić, D., Samardžija, M., & Kovačević, Z. (2023). Alternatives to Antimicrobial Treatment in Bovine Mastitis Therapy: A Review. Antibiotics, 12(4), 683. https://doi.org/10.3390/antibiotics12040683

Wilm, J., Svennesen, L. E., Eriksen, Ø. E., Halasa, T., & Krömker, V. (2021). Veterinary Treatment Approach and Antibiotic Usage for Clinical Mastitis in Danish Dairy Herds. Antibiotics, 10(2), 189. https://doi.org/10.3390/antibiotics10020189

Woodward, A. P., & Whittem, T. (2019). Physiologically based modelling of the pharmacokinetics of three beta-lactam antibiotics after intra-mammary administration in dairy cows. Journal of Veterinary Pharmacology and Therapeutics, 42(6), 693-706. https://doi.org/10.1111/jvp.12812

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

แก้วก่ำ ม. ., & อินทรกำแหง ม. . (2023). การศึกษาปริมาณโซมาติกเซลล์ในน้ำนมของโคที่รับและไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อการรักษาโรคเต้านมอักเสบ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(3), 1–11. https://doi.org/10.57260/stc.2023.517