การพัฒนาลิปบาล์มสมุนไพรไทยด้วยวัตถุดิบและสีธรรมชาติ

ผู้แต่ง

  • พรอนันต์ บุญก่อน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฐพร ทุยเวียง สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุพัตรา สุเนตรปิยฉัตร สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.519

คำสำคัญ:

ลิปบาล์ม , สมุนไพรไทย , การสกัด , สีธรรมชาติจากพืช , การประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรลิปบาล์มสมุนไพรไทยโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ             โดยแบ่งออกเป็นสองการทดลอง ประกอบด้วยการทดลองที่ 1 ศึกษาชนิดของน้ำมันที่เหมาะสมต่อการสกัดกระชาย ขิง ตะไคร้ โดยใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันละหุ่ง พบว่า น้ำมันปาล์มมีความเหมาะสมกว่าน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันละหุ่ง เนื่องจากได้ปริมาตรของน้ำมันสกัดที่สูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น และอุณหภูมิของสารสกัดไม่สูงมาก ไม่มีกลิ่นฉุน ส่วนการทดลองที่ 2 ศึกษาการสกัดสีจากพืช 10 ชนิด ด้วยน้ำมันมะพร้าว ได้แก่ ฟักทอง ขมิ้น แครอท ดอกทองอุไร มันม่วง กะหล่ำม่วง ใบเตย ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวก่ำ และเปลือกแก้วมังกร เพื่อนำไปปรับสีของลิปบาล์มสมุนไพร พบว่า พืช 3 ชนิดที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปพัฒนาสูตร           ลิปบาล์มสมุนไพร ได้แก่ ฟักทอง ทองอุไร และ ใบเตย เนื่องจากให้ลิปบาล์มที่มีสีสวย และสกัดสีได้ง่ายกว่าพืชชนิดอื่น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ทั้งสามสูตรที่พัฒนาได้นั้นมาทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์  โดยเน้นกลุ่มนักศึกษาและพนักงานทั่วไปจำนวน 20 คน ทั้งเพศชายและหญิง ช่วงอายุ 18-60 ปี  พบว่าภายหลังการทดสอบใช้เป็นเวลา 1 เดือน สูตรที่ประกอบด้วยน้ำมันสมุนไพรกระชาย ขิง ตะไคร้ ที่ผสมสีที่สกัดจากฟักทองเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด มีคะแนนอยู่ในระดับที่ชอบมากถึงชอบมากที่สุด

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สมุนไพรไทยที่แนะนำรับประทานก่อน ระหว่าง และหลังติดเชื้อโควิด - 19. สืบค้นจาก www.dtam.moph.go.th

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). น้ำมันละหุ่ง. สืบค้นจาก http://www.thaicrudedrug.com /main.php?action=viewpage&pid=118

ยามีละ ดอแม. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มว่านร้อยแปด ในวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพัฒนาก้าวหน้า ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์, 13(2), 64-73. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/143375

รักษ์สุดา ชูศรีทอง, ตฤณ ทิพย์สุทธิ์ และ กัลยา มั่นล้วน. (2565). สมุนไพรที่สำคัญในยุคโควิดสำหรับประชาชนทั่วไป. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 293-300. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/view/252088

ภูวไนย ไชยชุมภู, วชิรญา อิ่มสบาย, วรลักษณ์ ประยูรมหิศร, ยงยุทธ พลับจะโปะ และอัญมณี อาวุชานนท์. (2562). การประเมินปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของฟักทองพันธุ์ลูกผสมชั่วรุ่นที่1 ที่เหมาะสมต่อการแปรรูป. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(4), 581-589. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/229352

โสภิตา พงษ์มะลิวัลย์, สุธารัตน์ คําแพงตา, บัญชา ยิ่งงาม และ วันดี รังสีวิจิตรประภา. (2557). การอนุรักษ์และพัฒนาสูตรตํารับผลิตภัณฑ์สีผึ้งเพื่อต่อยอดเชิงธุรกิจ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9(Supplement), 44-49. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/IJPS/article/view/16313

Ghazali, H. M., Tan, A., Abdulkarim, s. M., & Dzulkifly, M. H. (2009). Oxidative stability of virgin coconut oil compared with RBD palm olein in deep-fat frying of fish crackers. Journal of Food, Agriculture & Environment, 7(3&4), 23-27. https://doi.org/10.1234/4.2009.2423

Kapila, N. S., Chamil, D. H., & Sagarika, E. (2009). Comparison of the phenolic-dependent antioxidant properies of coconut oil extracted under cold and conditions. Food Chemistry, 114, 1444-1449. https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2008.11.038

Mahanthesh, M.C., A.S. Manjappa, M.V. Shinde, A.S. Sherikar, J.I. Disouza, B.U. Namrata, K.R. Kranti and W.C. Ajija. (2020). Design, development and assessment of herbal lipstick from natural pigments. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research, 61(1), 59-64. http://globalresearchonline.net/journalcontents/v61-1/10.pdf

Marina, A. M., Cheman, Y. B., Nazimah, S. A. H., & Amin, I. (2009). Chemical properties of virgin coconut oil. Journal of the American Oil Chemists' Society, 86(4), 301-307. https://doi.org/10.1007/s11746-009-1351-1

Rohrig, B. (2015). The chemistry of food coloring : Eating with your eyes. ChemMatters, 5-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

How to Cite

บุญก่อน พ., ทุยเวียง ณ. ., & สุเนตรปิยฉัตร ส. (2023). การพัฒนาลิปบาล์มสมุนไพรไทยด้วยวัตถุดิบและสีธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(2), 1–12. https://doi.org/10.57260/stc.2023.519