ผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลและชุมชนจังหวัดสุโขทัย
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.526คำสำคัญ:
ผลลัพธ์, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล , ความปลอดภัยด้านยา , ร้านค้าบทคัดย่อ
ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับอาหาร ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม ดังนั้นการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจะครอบคลุมทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน สถานพยาบาลและร้านขายยา หน่วยบริการปฐมภูมิ และชุมชน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในโรงพยาบาลและชุมชนจังหวัดสุโขทัย โดยมีการประชุมระดมสมองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อชี้แจงนโยบายและตัวชี้วัด สร้างทีมและเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล กำหนดทีมพี่เลี้ยงและ ผู้ประสานงานระดับจังหวัด กำหนดพื้นที่ต้นแบบให้เรียนรู้ จัดทำฐานข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีและสามารถ ค้นคืนข้อมูลได้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ติดตามผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหาและค้นหา แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และวางแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดสุโขทัยมีการอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและโรคติดเชื้อในโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันผ่านเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้มีการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายและชุมชน โดยมีการลงพื้นที่ประเมินมาตรฐานร้านค้า ร้อยละ 45.26 พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ร้อยละ 5.66 ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายที่จำหน่ายในร้านค้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ยา เช่น ยาอันตราย (ร้อยละ 82.14) ยาแบ่งบรรจุ (ร้อยละ 10.27) ยาชุด (ร้อยละ 4.91) ยาไม่มีทะเบียน (ร้อยละ 1.79) และยาหมดอายุ (ร้อยละ 0.89) ดังนั้นการให้ความรู้แก่ประชาชนและการรณรงค์ให้ร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกกฎหมาย ตลอดจนการร่วมมือกันกับทุกภาคส่วนในการลงพื้นที่ควบคุมกำกับและบังคับใช้กฎหมายกับร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายลดลง ประชาชนได้รับความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
References
กาญจนา เสียงใส, ลีลาวดี ศรีสอน และ นริศรา พรมบุตร. (2565). การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารเภสัชกรรมไทย, 14(1), 62-69. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/247951
ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์ และคณะ. (2563). แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ปราชญา บุตรหงส์ และ ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2563). การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสสมเด็จพระยุพราชและโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ภายหลังการดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช). ไทยไภษัชยนิพนธ์, 15(1), 109-127. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TBPS/article/view/237342
ธนพนธ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, วิษณุ ยิ่งยอด, ตฤณ แสงสุวรรณ และ ลัดดา อำมาตย์. (2557). รูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ต.โพนสูง จ.สกลนคร. วารสารอาหารและยา, 15(1), 57-63. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/255517
นวเรศ เหลืองใส และ ชิดชนก เรือนก้อน. (2562). ผลการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเรื่องร้านชำคุณภาพซึ่งปลอดยาห้ามจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(3), 638-647. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/182937
ภาณุ วิริยานุทัย. (2558). ความชุกและลักษณะของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(2), 167-177. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169573
วราภรณ์ สังข์ทอง. (2558). ความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายและปัจจัยที่ทำให้เกิดการจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(1), 38-46. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169540
ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ. (2562). ความชุกของการจำหน่ายยาอย่างผิดกฎหมายในร้านชำอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(2), 387-396. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171540
สิริลักษณ์ รื่นรวย และ สุรศักดิ์ เสาแก้ว. (2560). ผลการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเรื่องร้านชำคุณภาพซึ่งปลอดยาห้ามจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9(1), 225-235. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169830
เสาวลักษณ์ กีรติหัตถยากร และ สุรเชษฎ์ เดชมณี. (2565). ผลการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน: ต้นแบบชุมชนทองหลาง จังหวัดระนอง. วารสารอาหารและยา, 29(3), 12-22. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/article/view/259608
World Health Organization. (2022). Promoting rational use of medicines: core components. Retrive from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/67438/WHO_EDM_2002.3.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ