พฤติกรรมการจัดการสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ฐิติกร โภชน์เจริญ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วิทญา ตันอารีย์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.533

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการสุขภาพ , คุณภาพชีวิต , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 280 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?^{x\bar{}}=3.52; SD=0.55) คุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?^{x\bar{}}=3.49; SD=0.44) พฤติกรรมการจัดการสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (r=0.408,        P-vaule<0.01) ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวาแผนดูแลผู้สุงอายุระยะยาว และนำไปพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุในท้องถิ่นต่อไป

References

กมลพรรณ จักรแก้ว. (2561). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรินทร์ สารทอง. (2564). การจัดการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตเมือง เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), 516-523. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/11351/9837

ทักษิณาทิพย์ หมื่นไธสง. (2564). ปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในอำเภอกันทรวิจัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เนตรนภา กาบมณี, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ และ ปานเพชร์ สกุลคู. (2564). การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 11(1), 27-39. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/247092

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

ปัทมาพร ชนะมาร. (2561). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 19(1), 61-72. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/108306

พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระ การจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภรปภา จันทร์ศรีทอง. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันในโรงพยาบาลตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี อร่ามศิลป์, พัทธยา เกิดกุล และ สายใจ จารุจิตร. (2561). พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 29(1), 68-77. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/download/132639/99550/349770

วิทมา ธรรมเจริญ และ นิทัศนีย์ เจริญงาม. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (รายงานผลการวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี และ ธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). โรงเรียนผู้สูงอายุ : ชุดความรู้ การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และ ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2564). การพัฒนารูปแบบความรอบรู้สุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี. รายงานการวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ดัชนีความก้าวหน้าของคนประจำปี 2563. กรุงเทพ: กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม สภาพัฒน์.

สุจิตรา บุญประสิทธิ์, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ และ ชมนาด สุ่มเงิน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 32(1), 44-56. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/64275

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วีระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ และ ราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). ความหมายของคุณภาพชีวิต เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

หรินทร์ ใจหนัก. (2560). คุณภาพชีวิตของผูสูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางริ้น ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานีและนนทบุรี. ทุนอุดหนุนการวิจัย สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Daniel, W.W., (1995). Biostatistics : A foundation for analysis in the health sciences. (6thed.). New York: John Wiley & Sons.

Ohta, R., Ryu, Y., & Sano, C. (2022). Improvement in quality of life through self-management of mild symptoms during the COVID-19 pandemic: A prospective cohort study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(11), 6652. DOI: 10.3390/ijerph19116652

Papadakos, J., Barnsley, J., Berta, W., Rowlands, G., Samoil, D., & Howell, D. (2022). The association of self-efficacy and health literacy to chemotherapy self-management behaviors and health service utilization. Supportive Care in Cancer, 30(1), 603-613. DOI: 10.1007/s00520-021-06466-5

Ryan, P. & Sawin, K. J. (2009). The Individual and Family Self-Management Theory: Background and perspectives on context process and outcomes. Nursing Outlook, 57(3), 217-225. DOI: 10.1016/j.outlook.2008.10.004

World Health Organization. (2007). Global Age-Friendly Cities: A Guide. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/43755

World Health Organization QOL group. (‎1996)‎. WHOQOL-BREF : introduction, administration, scoring and generic version of the assessment : field trial version. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/63529

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

โภชน์เจริญ ฐ. ., & ตันอารีย์ ว. . (2023). พฤติกรรมการจัดการสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(3), 12–24. https://doi.org/10.57260/stc.2023.533