การพัฒนาระบบบริหารจัดการรถเช่า
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.598คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ , ระบบบริหารจัดการ , รถเช่า , MVC web applicationบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการรถเช่า และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบบริหารจัดการรถเช่า โดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ SDLC กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ ตัวแทนประชากร จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบบริหารจัดการรถเช่า การพัฒนาระบบใช้ PHP framework w3schools เป็นเว็บไซต์สำหรับเรียนรู้โค้ด จะคล้ายกับ bootstrap ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน และใช้ CSS JavaScript ในการพัฒนา และใช้ Apache 8.6.0 คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเว็บ Web Server และยังมีระบบบริหารจัดการรถเช่าเป็นเครื่องมือในการวิจัยด้วยเพื่อเก็บการประเมินพิพึ่งพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) ระบบบริหารจัดการรถเช่า ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนผู้ใช้ทั่วไป สามารถดูได้อย่างเดียว ส่วนสมาชิก สามารถจองรถ และมีระบบชำระเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด และ ส่วนผู้ดูแลระบบ สามารถจัดการข้อมูลพื้นฐาน อนุมัติการจอง และตรวจสอบการชำระเงินได้ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.27 ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้ระบบได้ประโยขน์จากการเช่ารถออนไลน์ได้โดยไม่ต้องเดินทางมาเช่าที่ร้านและเพิ่มช่องทางรายได้ธุรกิจ
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). สถิติของบทวิเคราะห์ธุรกิจ ธุรกิจให้เช่า รถยนต์ และรถจักรยานยนต์. Retrive from https://www2.dbd.go.th
กานดา ศิริจันทร์ประเวช. (2564). ระบบร้านเช่ารถยนต์ .การประชุมวิชาการระดับชาติ: มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.
กิตติวรรธน์ กิตติวรรธนา. (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิจัยโรงเรียนนายสิบทหารบก. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 30 – 31 มีนาคม 2558, 1392-1397.
เงินติดล้อ. (2566). ธุรกิจรถเช่า ชี้ช่องทางสร้างรายได้. บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน).
ฉัตรชัย โคตรถา. (2556). คุณภาพการบริการรถเช่าในประเทศไทย. การประชุมนานาชาติ DPU ด้านนวัตกรรมธุรกิจและสังคมศาสตร์ 2021 การประชุมระดับชาติ 1 พฤษภาคม 2564,494 – 504.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์์
วชิรวิชญ์ นิลสุข, กัณฐพน ฤทธิ์สำเร็จ, ณรงค์ฤทธิ์ กิจการ และ ภัทรกร อัฐมีเดช. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบเช่ารถยนต์ส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีเชิงโครงสร้าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 1(2),12-24. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSCI/article/view/244220/166119
วีระพน ภานุรักษ์, วินัย โกหลำ และ ภาสกร ธนศิระธรรม. (2563). นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระบบเช่าจักรยานอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(2), 102-114. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/247895
อานนท์ หลงหัน. (2556). การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ OOP (Object Oriented Programming). สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
อุษณีษ์ หมื่นแสวง. (2560). ระบบการจอง-เช่า ห้องพักรายวัน/รายเดือนออนไลน์หอพักอุ่นแสง. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
BorntoDev. (2565). สรุป Concept พื้นฐาน MVC. บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ