การศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ชั้นบรรยากาศของเราเพื่อการพัฒนาการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในโรงเรียนประจำชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร อาทิตย์อาภา สาขาชีววิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พิษณุภาคิณ ไชยมงคล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.627

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, บรรยากาศของเรา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องชั้นบรรยากาศของเรา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบและแบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 39 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t - test (Dependent samples) และร้อยละความก้าวหน้า เครื่องมือวิจัยถูกประเมินจากผู้เชี่ยวชาญก่อนนำมาใช้ โดยผลการประเมินพบว่าชุดกิจกรรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.26 ±0.17) หลังจากนำเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน (𝑥̅ = 74.36±1.15) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน (𝑥̅ = 30.26±0.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาค่าร้อยละของความก้าวหน้าในการเรียนพบว่าเท่ากับ 48.42 มีค่าสูงกว่า 25% บอกถึงมีความก้าวหน้าในการเรียน และในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.27 ±0.70)

References

กมลวรรณ มิตรกระจ่าง. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรื่อง โลกและสิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 6(1), 67-81. สืบค้นจาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/321

ทรงพร วัฒนโฉมยง, กอบกุล พิพรรณจินดา, สุพัตรา ทับทวี และ มณฑา หมีไพรพฤกษ์ (2564). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 (น. 110-121). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/21752021-03-04.pdf

ธนพร โชติชุ่ม (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 57-68. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/240405

นุรไอซา ดิง (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษธานี). สืบค้นจาก http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/731

ประภัสสร ขันแข็ง, เพลินใจ อัตกลับ, เกศริน มีมล และ ทิพย์วรรณ หงกะเชิญ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการทดลอง เรื่อง การแยกสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล). การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56 ประจำปี 2561 (น. 133-138). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. DOI :10.14457/KU.res.2018.38

พิมพ์พิชา ศาสตราชัย. (2562). การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร). สืบค้นจาก https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/thesis_detail?r=60421231121

ภคนันท์ แช่มรัมย์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแสงและการมองเห็น โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์). สืบค้นจากhttp://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5148

เยาวมาลย์ อรัญ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/297624

รุ่งอรุณ เธียรประกอบ. (2553). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา) ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

ลักขณา ไชยฤทธิ์. (2565). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(8), 423-433. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/254879

วิศรุตรา ปลดกระโทก และ สาวณีย์ ชูจิต. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะสำหรับรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ประชุมวิชาการจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 9. สืบค้นจาก http://rms.mcru.ac.th/uploads/619409.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. (2550). กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนา. โรงพิมพ์ครุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2570). คุรุสภาลาดพร้าว.

สุกัญญา อินทร์แปลง, สราวุธ เจริญรื่น และ ทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2562). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศาสตร์การศึกษาและพัฒนามนุษย์, 3(2), 1-9. สืบค้นจาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jehds/article/view/2901

อนันต์ รัตนภานุศร. (2563). การปฺฏิรูปการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพล พลเหี้ยมหาญ. (2562). โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่ของการศึกษาไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 93-103. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/prij/article/view/247405

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (1990). Learning together and alone. Prentice-Hall.

Khaemmanee, T. (2010). The science of teaching, knowledge for organizing effective learning processes. Chulalongkorn University Printing.

Munkham, S., & Soonthornprasert, S. (2007). Academic performance to academic promotion. E.K. Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

How to Cite

อาทิตย์อาภา ฐ. ., & ไชยมงคล พ. . (2024). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ชั้นบรรยากาศของเราเพื่อการพัฒนาการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในโรงเรียนประจำชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(3), 21–36. https://doi.org/10.57260/stc.2024.627