ผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2565
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.636คำสำคัญ:
การเฝ้าระวัง, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, เขตสุขภาพที่ 4บทคัดย่อ
การศึกษาแบบเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 4 ปี 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงธันวาคม 2565 จากระบบฐานข้อมูลโรคติดเชื้อ (IC Surveillance Program) ที่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำนวน 5,201 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล จำนวน 5,201 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.18 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 63.47 ส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ 58.14 และหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 49.82 นอกจากนี้ตำแหน่งการติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 51.43 เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ Acinetobacter baumannii ร้อยละ 27.11 Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 16.40 และ Escherichia coli ร้อยละ 13.25 อีกทั้งพบมีการดื้อยา ร้อยละ 32.53 และผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ พบมีการดื้อต่อยา Carbapenem ร้อยละ 77.54 Colistin ร้อยละ 77.54 และ Ceftazidime ร้อยละ 50.47 นอกจากนี้อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล เท่ากับ 5.19 ครั้ง/1,000 วันนอน เมื่อจำแนกตามการติดเชื้อเฉพาะตำแหน่ง อัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ (CAUTI) เท่ากับ 7.70 ครั้ง/1,000 device day อัตราการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจ (VAP) เท่ากับ 27.31 ครั้ง/1,000 device day อัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือด (CABSI) เท่ากับ 13.17 ครั้ง/1,000 device day และอัตราการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด (SSI) เท่ากับ 0.50 ครั้ง/100 การผ่าตัด ข้อเสนอแนะ ควรมีจัดพัฒนาศักยภาพบุคลกรในการวินิจฉัยการติดเชื้อ การเฝ้าระวังการติดเชื้อ และแนวทางการป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ