การพัฒนาระบบติดตามผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.639คำสำคัญ:
ระบบติดตามผล, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, การพัฒนาระบบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สำหรับผู้ทดลองและอาจารย์ผู้ตรวจผลการทดลอง 2) ประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบ กลุ่มที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้เข้าร่วมอบรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จำนวน 30 คน ได้มาตามความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบติดตามผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยได้ผลการวิจัยคือ การพัฒนาระบบติดตามผลการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีการทำงาน 3 ส่วน คือ ส่วนของผู้ทดลอง ส่วนของผู้ตรวจผลการทดลอง และส่วนของผู้ดูแลระบบ ในการทำงานแต่ละส่วนจะต้องทำการลงทะเบียน และผ่านการอนุมัติก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ โดยผู้ทดลองสามารถทำการเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลการทดลอง และเพิ่มรูปภาพได้ ผู้ตรวจผลการทดลองสามารถแสดงความคิดเห็นต่อผลของผู้ทดลองได้ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจที่ค่าเฉลี่ย 4.55 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
References
จุลศักดิ์ ปัตโชติชัย, จำนง วงษ์ชาชม และ ศรัญญา แซ่ตั้ง. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(2), 101-115. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Praewa-ksu_Journal/article/view/89416
ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศักดิธัช ทิพวัฒน์, จันทิมา เขียวแก้ว, ธนณัฏฐ์ สากระสัน และ สุพรรษา พรหมสุคนธ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 11(2), 61-77. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/145982
ธีรพงศ์ เตชาติ. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานติดตามผลการเรียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มณีพิชา อินทสาร, เสาวลักษณ์ ลีลาวงศาโรจน์, อาทิตย์ กลีบรัง และ สิริอร สกุลเดช. (2562). ระบบติดตามและประเมินผลการฝึกอาชีพนักศึกษาแบบออนไลน์. วารสารวิจัยและนวัตกรรม, 2(2), 84-95. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/244988
ลภัสรดา ร่มรื่น. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการประจำปี ของเทศบาลตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8, 268-285. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/130059
วิมลสิริ ศรีสมุทร. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามผลการตรวจสอบภายใน. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 124-132. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/242842
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2560). ประสิทธิผลการให้บริการระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสาร Veridian E Journal, 10(1), 1351-1365. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/89181
สมเพียร ฟักทอง และ แสงจันทร์ สอนสว่าง. (2566). การพัฒนาห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อรองรับตัวอย่างจากชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(1), 50-58. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jstcrru/article/view/257777
ไหมคำ ตันติปทุม. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(2), 59-72. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/190161
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ