การพัฒนาระบบประปาเทศบาลตำบลปริกให้เป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพน้ำประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • มานะ หะสาเมาะ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
  • สะหลัน สามะ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
  • มารีนี โด ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.717

คำสำคัญ:

ระบบประปา , บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) ในการบริหารการจัดการน้ำประปาของเทศบาลตำบลปริกเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำประปาให้สะอาดปลอดภัย และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบวิธีเจาะจงเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารเทศบาลได้กำหนดให้การจัดหาน้ำสะอาดเป็นนโยบายสำคัญ แต่ยังคงต้องมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลคุณภาพน้ำความขุ่นและทางแบคทีเรียในบางช่วงยังไม่ผ่านมาตรฐาน จากการดำเนินกิจการประปาที่มุ่งมั่นให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดความร่วมมือกับศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา การประปาส่วนภูมิภาคเขต 5 และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษภาคที่ 16 สงขลา ที่เห็นพ้องต้องกันว่ากิจการประปาของเทศบาลตำบลปริกมีศักยภาพทั้ง 5 ด้าน คือด้านแหล่งน้ำดิบ, ด้านระบบประปา, ด้านการควบคุมการผลิตและบำรุงรักษาระบบประปา, ด้านคุณภาพน้ำประปา และด้านการบริหารกิจการระบบประปา และจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ท้องถิ่นอื่น ๆ ในภูมิภาคภาคใต้ตอนล่างได้ จึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนการพัฒนาระบบประปาเทศบาลตำบลปริก และผลลัพธ์จากการความร่วมมือพัฒนาคุณภาพน้ำประปาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้ระบบประปามีการรักษาสภาพประปาดื่มได้ และผ่านมาตรฐาน EHA 2001 สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้น้ำ, สามารถเป็นพื้นที่การศึกษาดูงาน และมีวิทยากรที่สามารถให้ความรู้การจัดการและพัฒนาคุณภาพน้ำประปา  

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). คู่มือ หลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/ document/type2/2022/7/27706_2_1658202314710.pdf

เชาว์ ตะสันเทียะ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจากhttp://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5409031571_3115_9505.pdf

บุญศรี สโตเกอร์. (2560). แหล่งเรียนรู้ในชุมชน รายวิชาคลังปัญญาชุมชน (ทร 03007). สืบค้นจาก https://silo.tips/download/3--49#

มยุรี โยธาวุธ. (2560). การบริหารจดัการระบบประปาหมู่บ้านแห่งของประเทศไทย:กรณีศึกษาชุมชนจังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th /dpurc/assets/uploads/public/ba8xdui72n4kk8w0sg.pdf

รังสรรค์ อินทน์จันทน์. (2557). การพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม. สยามวิชาการ, 15(2), 95-105. https://so07.tci-thaijo.org/ index.php/sujba/article/view/846

วรพงศ์ ผูกภู่. (2563). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้. สืบค้นจาก https://www.randdcreation .com /content/2992/องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

วิชชาภรณ์ เลิศสุบินรักษ์, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และ พลอยชมพู กิตติกุลโชติวุฒิ. (2562). ผลกระทบของความเป็นเลิศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่มีต่อประสิทธิภาพ การทำงานของบุคลากรการประปาส่วนภูมิภาคเขต 8, วารสารการบัญชีและการจัดการ, 11(1), 162-174. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/220143

สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). หลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

อำนาจ แก้วฉะอ้อน. (2560). การศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการประปาของเทศบาลตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle /1234567890/6182

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

หะสาเมาะ ม., สามะ ส. . ., & โด ม. . . (2023). การพัฒนาระบบประปาเทศบาลตำบลปริกให้เป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพน้ำประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(1), 36–49. https://doi.org/10.57260/stc.2024.717