ประสิทธิผลของปฏิทินการออกกำลังกาย 8 ท่าต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ภรภัทร ดอกไม้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
  • ธีรยา วรปาณิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.727

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย , ผู้สูงอายุ , ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของปฏิทินการออกกำลังกาย 8 ท่าต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 65 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินสมรรถภาพทางกายของกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60-69 ปี มีดัชนีมวลกายก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนคนมีน้ำหนักตัวปกติเพิ่มมากขึ้นเป็นร้อยละ 78.40 เมื่อประเมินสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังทดลอง 6 เดือน พบว่า ความอ่อนตัวและความยืดหยุ่น ด้วยวิธีแตะมือ ก่อนทดลองมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 49.20 และหลังทดลองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 49.20 และวิธีนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้าและความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ด้วยวิธีงอแขนยกน้ำหนักก่อนและหลังมีสมรรถภาพทางกายไม่เปลี่ยนแปลง ลุกยืน-นั่งบนเก้าอี้  ก่อนทดลองมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 56.90 และหลังทดลองอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 90.80 ส่วนการทรงตัว ด้วยวิธีลุก-เดิน-นั่ง ไปกลับ ก่อนทดลองมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดี  ร้อยละ 63.00 และหลังทดลองอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 76.90 ส่วนความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ด้วยวิธียืนยกเข่าขึ้นลง ก่อนทดลองมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.80 และหลังทดลองอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 60.00 ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชนในการผลักดันการดำเนินกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมทางจิตใจ กิจกรรมเสริมสร้างรายได้ กิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมตามบริบทของชุมชนร่วมด้วย จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างยั่งยืน

References

กัตติยา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน และ รัตนากร ยศอินทร์. (2555). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองประยุกต์กับการฟ้อนมองเซิงเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 81-93. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/5371

กิตติพร สุวรรณ และ ปฐมามาศ โชติบัณ. (2560). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ ประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุ และการอาศัยอยู่ร่วมกันกับผู้สูงอายุที่มีผลต่อสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 59-68. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/88959

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สังคม และจิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุสามกลุ่มวัย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(4), 300-313. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/73834

ขวัญจิตร ชมพูวิเศษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม สำหรับชมรมผู้สูงอายุ ตำบลเหล่าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(2), 36-46. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/95906

ชนนิพัทธ์ ประเสริฐพรรณ, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มาริโอ และ กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. กิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 388-400. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/13940

ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์ และ วรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ คลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 154-167. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/97728

พิสิษฐ์ ดวงตา และ ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชมรม ผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 208-217. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/113908

มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล. (2558). รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(3), 86-96. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/47370

รุจา รอดเข็ม. (2562). สังคมสูงวัย: กิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 9(2), 1-9. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/193976

วิสาขา แซ่อุ้ย, ระวิวรรณ วรรณวิไชย. (2559). การเคลื่อนไหวบำบัด : กิจกรรมพัฒนาผู้สูงอายุ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(2), 1-12. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/faa/article/view/73647

สายฝน อินศรีชื่น และ ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2560). ผลของกิจกรรมการพยาบาลสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(1), 37- 48. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/84164

สุดา วงศ์สวัสดิ์, นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, ดุษฎี โยเหลา และ จุฑารัตน์ สถิรปัญญา. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของทีมสุขภาพในชุมชน: การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงวิพากษ์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 191-207. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/110745

สุภาวดี ไชยเดชาธร, ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และ กชกร แก้วพรหม. (2558). สุขภาพจิตของผู้สุงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 21(1), 31-40. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/39759/32853

อนุสรณ์ อุดปล้อง, เกรียงศักดิ์ โรจน์คุรีเสถียร และ ภาณี วงษ์เอก. (2556). ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(1), 68-79. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/49091

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-23

How to Cite

ดอกไม้ ภ., & วรปาณิ ธ. . (2024). ประสิทธิผลของปฏิทินการออกกำลังกาย 8 ท่าต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(1), 50–59. https://doi.org/10.57260/stc.2024.727