ผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.736คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพช่องปาก , รูปแบบ, นักเรียนบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน จำนวน 71 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพ ช่องปากของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ หลังทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากถูกต้องเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value >0.001 และ p-value = 0.001) ครูและผู้ปกครองทุกคนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เมื่อตรวจสุขภาพช่องปาก พบว่า หลังทดลองนักเรียนมีประสิทธิภาพการแปรงฟันอยู่ในระดับดี ร้อยละ 48.50 และระดับพอใช้ ร้อยละ 51.50 ตามลำดับ ดังนั้นควรให้ความรู้ครู ผู้ปกครองและนักเรียน รวมถึงมีการส่งต่อไปตรวจสุขภาพช่องปากและรับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีและเจริญเติบโตสมวัยอย่างยั่งยืน
References
กาญจนา สีหาราช และ วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. (2564). ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 4(2), 108-121. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/250493
กัญญ์ณัชชา รุ่งเรือง, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และ สมเกียรติยศ วรเดช. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลพะวง จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(2), 59-75. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPHNU/article/view/260067/178814
เกตุวดี เจือจันทร์, อิชยา สินไชย, อรวรรณ นามมนตรี, อโนชา ศิลาลัย และ หฤทัย สุขเจริญโกศล. (2559). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 22(1), 5-17. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/63714/52294
กุลธิดา ประภายนต์, ชฎาพร โรจน์บัวทอง และ วารุณี สุดตา. (2562). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอำนวยเวทย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 13-24. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/226699/154691
จีราภา ศรีท่าไฮ, บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์ และ คณิสร เจริญกิจ. (2561). พฤติกรรมการจัดการตนเองในการป้องกัน และแก้ไขโรคฟันผุในเด็กอายุ 8-12 ปี โรงเรียนบ้านทุ่งม่วง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 29(1), 159-169. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/132807/99659
ณัฐนันท์ โกวิทวัฒนา และ ศิริพร ส่งศิริประดับบุญ. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์, 68(3), 279-287. https//www.jdat.org/dentaljournal/th/journal/view/2018OR2030
นริสา กลิ่นเขียว, ทรงชัย ฐิตโสมกุล, สุพัชรินทร์ พิวัฒน์, อ้อยทิพย์ ชาญการค้า และ สุกัญญา เธียรวิวัฒน์. (2562). ผลของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนประถมศึกษา และพฤติกรรมทันตสุขภาพ ต่อการเกิดโรคฟันผุเด็กอายุ 12 และ 15 ปี. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์, 69(1), 70-82. https//www.jdat.org/dentaljournal/th/journal/view/2019OR0009
เบญจวรรณ ช่วยแก้ว, จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา และ วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดตรัง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 64-73. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/242885/165124
เพ็ญนภา ปากดี, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์. (2566). การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – 6 ในโรงเรียนบ้านเหล่าติ้วตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(1), 31-43. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/258657/178413
เรวดี ศรีหานู. (2565). สภาวะทันตสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กตำบลพระบุ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(1), 1-15. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/256057/175914
วรพรรณ ถมยา และ ยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2561). ผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมต่อสุขภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์โรงพาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 33 (2), 89-104. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/143506/106207
วิชัย ศรีคำ, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์ และ พิศมร กองสิน. (2560). พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหเวชศาสตร์, 2(1), 1-14. https://he04.tci-thaijo.org/index.php/JAHS/article/view/119/66
สิริรัตน์ วีระเดช และ ละอองดาว วงศ์อำมาตย์. (2565). การประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในเด็กวัยเรียนศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(1), 151-166. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/255338/174199
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ