การประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งเสริมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกร ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.768คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริม , การจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตร, ครัวเรือน, เกษตรกรบทคัดย่อ
ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.65) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 65.29 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 73.50) มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 3,020.59 บาท มีระยะเวลาในการประกอบอาชีพเกษตรกรเฉลี่ย 26.79 ปี เกษตรกรมีสวนหรือไร่เป็นของตนเองและทำงานในสวนหรือไร่ด้วยตนเอง (ร้อยละ 91.18) โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร 5 -10 ไร่ (ร้อยละ 52.94) ส่วนใหญ่ปลูกพืชสวน (ร้อยละ 73.50) รายได้ต่อปีที่ได้จากการทำเกษตรเฉลี่ย 40,176.47 บาท ส่วนรายจ่ายต่อปีที่ใช้ซื้อสารเคมีทางการเกษตรเฉลี่ย 8,126.47 บาท เกษตรกรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่รัฐ (ร้อยละ 45.16) ส่วนข้อมูลการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เกษตรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.00) ซื้อสารเคมีทางการเกษตรจากร้านค้าปลีกหรือตัวแทนจำหน่ายในหมู่บ้าน ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาเกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดแมลงมากที่สุด (ร้อยละ 36.26) เกษตรกรใช้สารเคมีแบบน้ำในปริมาณ 5 -10 ลิตรต่อปี (ร้อยละ 50.00) มีซากบรรจุภัณฑ์ประเภทขวดพลาสติกเกิดขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 53.22) เกษตรกรจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรด้วยวิธีการขายให้ผู้รับซื้อของเก่า (ร้อยละ 38.10) และกำจัดซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตร 1-2 ครั้งต่อปี (ร้อยละ 79.41) ผลการศึกษาความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตร พบว่า ก่อนได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.85, 4.48 และ 2.43 คะแนนตามลำดับ และหลังได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตร เท่ากับ 10.88, 4.65 และ 2.70 คะแนน ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรก่อนและหลังได้รับโปรแกรม พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.006) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากผลการศึกษาครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสร้างการรับรู้และกำหนดนโยบายส่งเสริมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรตั้งแต่ต้นทางอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความตระหนักและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573. สืบค้นจากhttps://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-27_06-47-53_174751.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชน ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจากhttps://www.pcd.go.th/publication/29745
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง. สืบค้นจาก http://www.farmer.doae.go.th
กองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). ระบบบริหารจัดการข้อมูลขยะแบบสำรวจฐานข้อมูล (มฝ.1). สืบค้นจาก http://waste.dla.go.th/waste/wasteFinance.do?random=1697359782047
จิราภรณ์ หลาบคำ, ชลธิชา ผ่องจิตต์ และ ทิพาวรรณ เพทราเวช. (2559). พฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านเกษตรพัฒนาเหนือและบ้านเกษตรสามัคคี ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(2), 11-21. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/84783/67525
เทศบาลตำบลหารแก้ว. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 – 2570). เทศบาลตำบลหารแก้ว. สืบค้นจาก https://www.harnkaew.go.th/document/strategic_plan_or_agency_development_plan/99
ธนาศักดิ์ เปี่ยมสิน. (2564). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลไพรนกยูง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร). สืบค้นจาก. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/3949
เนตรชนก เจริญสุข. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวนาในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology, 24(1), 91 -101. สืบค้นจาก https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/1272
ภัทรภร ฤทธิชัย. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่). สืบค้นจาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2284
ลักษณีย์ บุญขาว และ พาวีนา ผากา. (2563). ความรู้และพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(24), 66-77. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/252874/171703
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH#
สุภาณี จันทร์ศิริ, สิทธิชัย ใจขาน, ณัฐภัทร อันถาวรพงศ์, สมเจตน์ ทองดำรงธรรม และ ดลภัทร ศุภสุข. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะอันตรายในครัวเรือนของประชาชน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32 (3), 404-415. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/12317/10287/19955
Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological
Review, 84(2), 191–215. Retrieved from https://educational-innovation.sydney.edu.au/news/pdfs/Bandura%201977.pdf
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed.). Engelwood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall,Inc.
Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw Hill.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed..). New York : Harper Collins Publishers. (pp.202-204)
Kuder, G., & Richardson, M. (1937). The theory of estimation of test reliability. Psychometrika.
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ