สมบัติทางกายภาพและเคมีของแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งมันฝรั่ง: ผลของการเติมซอร์บิทอล

ผู้แต่ง

  • จิรวรรณ กัณฑ์ธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วิมลรัตน์ พจน์ไตรทิพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.802

คำสำคัญ:

แผ่นฟิล์มชีวภาพ , แป้งมันฝรั่ง , พลาสติไซเซอร์ , ซอร์บิทอล

บทคัดย่อ

การผลิตแผ่นฟิล์มจากแป้งมันฝรั่งและศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ดำเนินการโดยละลายแป้งมันฝรั่ง 10 กรัม และพลาสติกไซเซอร์ คือ ซอร์บิทอล 0, 1, 3, และ 5 กรัม ในน้ำกลั่น 200 มิลลิลิตร กวนพร้อมให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขึ้นรูปโดยการเทสารละลาย 100 กรัมลงในแม่พิมพ์แผ่นอะคริลิคขนาด 12 x 8 ตารางเซนติเมตร อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากนั้นนำแผ่นฟิล์มไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่  ลักษณะเนื้อสัมผัส ความหนา ค่าความต้านทานแรงดึง เปอร์เซ็นต์การยืดและค่าการละลายน้ำ ผลการทดลอง พบว่า ลักษณะของแผ่นฟิล์มมีลักษณะโปร่งใสโดยแผ่นฟิล์มที่มีการเติมพลาสติกไซเซอร์ มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ไม่เปราะ ขยำแล้วไม่แตก แผ่นฟิล์มที่ไม่ใส่พลาสติไซเซอร์มีความเปราะสูง ขยำแล้วแตก ไม่มีความยืดหยุ่น โดยแป้งมันฝรั่งที่มีอัตราส่วนของซอร์บิทอล 0, 1, 3 และ5 กรัม ส่งผลให้แผ่นฟิล์มมีค่าความหนาเฉลี่ย 51.00, 60.30, 96.00  และ 74.30 ไมโครเมตร ตามลำดับ และมีค่าการยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณของซอร์บิทอลเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 8.44, 10.67, 18.92 และ 38.26 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีค่าต้านทานแรงดึงลดลง เฉลี่ย 43.72, 31.67, 9.02 และ 4.61 Mpa ตามลำดับ ผลทดสอบค่าการละลายน้ำ พบว่า แผ่นฟิล์มสามารถละลายน้ำได้ดีขึ้น เมื่อเติมซอร์บิทอล มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำเท่ากับ 26.63, 46.08, 47.67 และ 78.88 ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า แป้งมันฝรั่งผสมซอร์บิทอลสามารถผลิตแผ่นฟิล์มชีวภาพได้

References

พิชามญชุ์ รักรอด. (2562). กรีนพีซเรียกร้องกรมควบคุมมลพิษให้ประเมินผลและทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ระบุ Roadmap ไร้ทิศทางและสวนทางกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ. สืบค้นจาก http://www.gsei.or.th/activities/detail/593

พิชามญชุ์ รักรอด. (2562). คนไทยใช้ถุงพลาสติกมากถึง 5,300 ตัน/วันเอกชนหนุนยกเลิกพลาสติกใช้ครั้ง เดียว. สืบค้นจาก https://www.bltbangkok.com/news/5074/

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2553). Sorbitol / ซอร์บิทอล. สืบค้นจาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1212/sorbitol

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2553). Plastic / พลาสติก. สืบค้นจาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1635/plastic

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2553). starch / สตาร์ซ. สืบค้นจาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0501/starch

ภาวิณี เทียมดี และ จิราพร เรืองรุ่ง. (2561). ผลของปริมาณกลีเซอรอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางกลของฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันเทศเพื่อผลิตถุงเพาะชํา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 21(3), 14-24. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/156476/159708

ภาวิณี เทียมดี และ กนกวรรณ พุ่มนารินทร์. (2563). ผลของปริมาณซอร์บิทอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของฟิล์มเคลือบผิวจากแป้งมันสาคูเม็ดและเจลาตินเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของกล้วยน้ำว้า. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 43(4), 517-527. สืบค้นจาก https://www.thaiscience.info/Journals/Article/KMIT/10997373.pdf

รวิศ หาญอุตสาหะ. (2563). พลาสติกชีวภาพคืออะไร?. สืบค้นจาก https://productsandsolutions.pttgcgroup.com/th/labels/bioplastics

รัตนา จินดาพรรณ และ วิไลลักษณ์ ไฝเพชร. (2549). อิทธิพลของพลาสติไซเซอร์ต่อการต้านแรงดึง การซึมผ่านของน้ำมันและความสามารถในการละลายของฟิล์มโปรตีนถั่วเขียว. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 2(1), 36-44. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JFTSU/article/view/38353

วิษณุ เกตุรู้, ผกากรอง เดิดขุนทด และ ธนาวรรณ สุขเกษม. (2561). ผลของชนิดและปริมาณพลาสติกไซเซอร์ต่อการขึ้นรูปและสมบัติของแผ่นฟิล์มบริโภคได้จากเปลือกข้าวโพด. Rajabhat L. Sci. Humanit. Soc. Sci, 19(1), 16-26. สืบค้นจาก https://journal.mcru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=32657

สุทธินี สีสังข์. (2563). คุณสมบัติของแป้งที่มีผลต่อ การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20200722153849_1_file.pdf

Catarina, M. D. M., Jaqueline, M. D. M., Jaqueline, P. D. S., Roberta, D. C. K., Guiherme, L. D., & Luiz, A. D. A. P. (2012). Evaluation of mechanical properties and water vapor permeability in chitosan biofilms using sorbitol and glycerol. Macromolecular Symposia, 319(1), 240-245. Retrived from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/masy.201100128

Lusiana, S. W., Putri, D., Nurazizah, I. Z., & Bahruddin, B. (2019). Bioplastic properties of Sago-PVA starch with glycerol and sorbitol plasticizers. Journal of Physics: Conference Series, 1351(1), 012102. Retrived from https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1742-6596/1351/1/012102

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29

How to Cite

กัณฑ์ธรรม จ. ., & พจน์ไตรทิพย์ ว. . (2024). สมบัติทางกายภาพและเคมีของแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งมันฝรั่ง: ผลของการเติมซอร์บิทอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(6), 48–62. https://doi.org/10.57260/stc.2024.802