ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมติดตามทางโมบายแอปพลิเคชันตามแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส

ผู้แต่ง

  • จรรยา โยตะศรี โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.838

คำสำคัญ:

โมบายแอปพลิเคชัน , แนวทางการจัดการ , ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ) ชนิดสองกลุ่ม Difference between two independent means วัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมติดตามทาง โมบายแอปพลิเคชันตามแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง มีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 28 คน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลตามโปรแกรมติดตามทางโมบายแอปพลิเคชันตามแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส ทุกระยะ การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างของการประเมินผลลัพธ์ตามแบบประเมินผลลัพธ์ในการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม กลุ่มทดลองมาพบแพทย์ตามนัด มีค่าเฉลี่ย 0.95 ครั้ง ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มาพบแพทย์มีค่าเฉลี่ยเพียง 0.44 ครั้ง ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตสูง 7 วัน กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย 114/76 mmHg ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าความดันโลหิตเฉลี่ย 138/92 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองอยู่ในระดับดีขึ้น (p-value ‹ 0.01)
กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ร้อยละ 100 มีแนวปฎิบัติตามโปรแกรมติดตามทางโมบายแอปพลิเคชันตามแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส

References

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2562. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission1

ทัชมาศ ไทยเล็ก,วันธณี วิรุฬห์พานิช และ บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์. (2564). ผลของโมบายแอปพลิเคชันการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันและการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(1), 37-53. สืบค้นจาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/13145/1/437820.pdf

ยุภาพร นาคกลิ้ง. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(1), 27-35. สืบค้นจาก https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-vol6-1/3_07_formatted%20V6-1.pdf

ปิยพงษ์ ชินสุทธิ์, อาคม รัฐวงษา และ อลิสา รัฐวงษา. (2566). ผลของการใช้แนวทางการนัดติดตามความดันโลหิตเพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิต. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 7(14). 1-12. สืบค้นจาก http://app101.moph.go.th/academic

ปุณิกา สุ่มทอง, บุญเยี่ยม สุทธิพงศ์เกียรติ, ปรัชพร กลีบประทุม และวาศิณี อาภักดี. (2019). ผลของโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิทยาลัยพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(1). 1-14. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/186033

วิชัย เอกพลากร. (2564). การสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพมหานคร. อักษรกราฟฟิคแอนต์ดีไซน์. สืบค้นจากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5425

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2566). คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC). สืบค้นจาก https://snk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. สำนักพิมพ์ทริคธิงค์: เชียงใหม่. สืบค้นจากhttps://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php?n_id=442

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2562). รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. Humanities, Social Sciences and arts, 12(5), 1265-1283. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-EJournal/article/view/170986

Panmung, N., Ketjuna, H., Nakkarach, B., Teesara, K., & Supasorn, S. (2022). Guidelines for management when a person with high blood pressure is identified in a hospital. Nonthaburi. Department of Disease Control. Retrieved from http://thaincd.com/document/file/download

Yueayai, K., Moran, A. E., Pratipanwat, P., Chaisongkran, S., Anosri, L., & Thitichai, P. (2020). Hospital-based intervention to enhance hypertension diagnosis in Kalasin hospital, Thailand, 2017-2019: A pre-post pilot intervention study. The Journal of Clinical Hypertension, 22(8), 1310-1320. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jch.13953

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

โยตะศรี จ. (2024). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมติดตามทางโมบายแอปพลิเคชันตามแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(4), 45–59. https://doi.org/10.57260/stc.2024.838