ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.886คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง , โปรแกรมการเสริมพลังครอบครัว , ความสามารถของผู้ดูแล , การหกล้มซ้ำ , การทรงตัวบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มละ 30 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง และแบบบันทึกผลการวัดความสามารถในการทรงตัว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t- test
ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวคะแนนความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และคะแนนการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) สรุปผลการวิจัยโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัว ที่ประกอบด้วยการเสริมศักยภาพผู้ดูแลด้วยความรู้ในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การจัดการสิ่งแวดล้อม และทักษะการออกกำลังกายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการหกล้ม มุ่งเน้นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ความไว้วางใจ และการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลในครอบครัวและพยาบาลวิชาชีพ สามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจากhttps://lpg.hdc.moph.go.th/hdc/reports
จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์, ปาริชาต ญาตินิยม และ ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจาร. (2567). การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะพลัดตกหกล้มสําหรับผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย ABC 6-D จังหวัดชัยภูมิ.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(3), 851-865. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/267775
จุฑาทิพย์ รอดสูงเนิน. (2564). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและความกลัวการล้มของ ผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(38), 541-560. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/251296
ณภัทร ธรกานต์ธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน์ เสาวพันธุ์, กชนิภา ขวาวงษ์, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล และ วิยะดา ทิพม่อม. (2564). การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้มพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตาม หลัก10ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาล อุดรธานี, 29(1), 111-126. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/250825
ณรงค์กร ชัยวงศ์ และ ณิชาภัทร มณีพันธ์. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(3), 1-14. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUNS/article/view/254336
ดารณี ทองสัมฤทธิ์ และ เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2565). ผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 62-73. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHQJ/article/view/256706
ปิยะรัตน์ สวนกูล และ หัสยา พรอิทยศ. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. Phrae Medical Journal and Clinical Sciences, 31(1), 27-42. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/13181
ปรีดา สาราลักษณ์ และ วรารัตน์ ทิพรัตน์. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(2), 1-13. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/255081
ภัณฑิลา ผ่องอำไพ, สุธีรา ฮุ่นตระกูล และ ศศิธร รุจนเวช. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์นาวี, 45(2), 311-327. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/article/view/158608
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). ยากันล้ม: คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
โสภิตตา แสนวา, นิภา มหารัชพงศ์, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และ วัลลภ ใจดี. (2565). ผลของโปรแกรม ป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตาม แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(2), 214-227. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/256271
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.pdf
โรงพยาบาลเสริมงาม. (2566). สรุปรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566. โรงพยาบาลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.3758/BF03193146
Heinrich, H. W., Peterson, D., & Roon, N. (1931). Industrial Accident Prevention: A Scientific Approach. New York: McGraw-Hill.
Hulme, P. A. (1999). Family empowerment: a nursing intervention with suggested outcomes for families of children with a chronic health condition. Journal of Family Nursing, 5(1), 33-50. Retrieved from https://doi.org/10.1177/107484079900500
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ