การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567

ผู้แต่ง

  • สุชาญวัชร สมสอน กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.960

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, รณรงค์ป้องกัน, โรคติดต่อ, โรคอุบัติใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567 ตามรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  จากผู้ที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ จำนวน 200 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี และจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่หลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) และระดับความพึงพอใจของโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ดังนั้นในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคควรมีการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มระยะเวลาในการจัดโครงการ เพิ่มนิทรรศการให้มีความหลากหลายขึ้น รวมถึงสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในชุมชนได้ต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2567). กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. Retrieve from https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1

กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. (2560). แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ก่อศักดิ์ จันทรวิจิตร. (2566). การประเมินผลการดําเนินงานโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงด้วย“ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” จังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ CIPP Model. วารสาร สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(2), 80-93. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/264519/180835

เกศิณี วงศ์สุบิน, ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ธราดล เก่งการพานิช และ มณฑา เก่งการพานิช. (2559). ผลของ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งนำ้ร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(3), 196-209. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/68419/56374

ธีรศักดิ์ คันศร, กุลชญา ลอยหา, จำลอง วงศ์ประเสริฐ และ เด่นดวงดี ศรีสุระ. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตเมืองอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(3), 25-35. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/232218/158554

ธีรศักดิ์ เลื่อยไธสง. (2549). การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลเรื่องที่ 7: การนิเทศ การศึกษา (Educational Supervision) สาสน์นิเทศการศึกษา (Educational Supervision Message: ESM). กรุงเทพฯ.

พงศกร ตันติวรางกูร. (2566). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอลี้ในพื้นที่ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาล และการสาธารณสุข, 3(3), 62-76. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/263889/181574

รุ่งนภา จันทรา, ลัดดา เรืองด้วง และ ชุลีพร หีตอักษร. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานกรณีเด็กจมน้ำในอาสาสมัครสาธารณสุขประจ้าหมู่บ้านในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองฉนาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(3), 38-48. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/244688/174668

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2559). การประเมินโครงการศึกษาดูงานภาคฤดูร้อนด้านภาษา ศิลปะและ วัฒนธรรมจีนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 55- 73. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/128436/96540

สมัย พูลทอง, เจริญชัย คำแฝง, ชนะ หอมจันทร์, จีระนันท์ คำแฝง และ ทวีศักดิ์ จันทร์หอม. (2556). การ ประเมินผลโครงการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารควบคุมโรค, 39(3), 266-271. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083/112757

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2567). กฎหมายเกี่ยวกับการ ปกครองท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://odloc.go.th

หทัยชนก บัวเจริญ, ดารินทร์ โพธิ์ตั้งธรรม และ วิกานต์ดา โหม่งมาตย์. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม. วารสารควบคุมโรค, 41(4), 982-994. สืบค้นจาก https://he01.tci-taijo.org/index.php/DCJ/article/view/155083/112757

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี. (2566). รายงานความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนพื้นที่จังหวัด ลพบุรี. ลพบุรี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี. (2567). รายงานโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและ โรคอุบัติใหม่ ปีงบประมาณ 2567. ลพบุรี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี.

Stufflebeam, D. L. (1968). Evaluation as Enlightenment for Decision – Making. Ohio: Ohio State University Evaluation Center.

World Health Organization. (2024). Emerging diseases. Retrieve from https://www.emro.who.int/health-topics/emerging-diseases/index.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29

How to Cite

สมสอน ส. . (2024). การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(6), 1–13. https://doi.org/10.57260/stc.2024.960