การคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567

ผู้แต่ง

  • สุชาญวัชร สมสอน กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.997

คำสำคัญ:

คัดกรองเชิงรุกในชุมชน , ไวรัสตับอักเสบ บี และซี , ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนด้วยชุดตรวจ Rapid test ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จำนวน 717 คน โดยใช้แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ของศูนย์สาธิตเวชศาสตร์ป้องกัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.46                     มีสัญชาติไทย ร้อยละ 100 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 39.61 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 26.92 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.34 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 54.95 ไม่เคยตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90.10 ไม่เคยตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 93.44 ไม่เคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 97.63 มีความเสี่ยงเกิดก่อนปี 2535 ร้อยละ 91.91 ผลการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) เป็นบวก ร้อยละ 2.09 และผลการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti-HCV) เป็นบวก ร้อยละ 0.42 ดังนั้นในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี ควรมีการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเร่งรัดการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน และจัดบริการส่งต่อให้ผู้ที่มีผลบวกได้เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว

References

กลุ่มโรคติดต่อเรื้อรัง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค. (2567). สรุปผลการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2567. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2567). รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (R506, D506) โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี. สืบค้นจาก https://ddsdoe.ddc.moph.go.th/ddss

เขมกร เที่ยงทางธรรม, อรวรรณ วงศ์สถิตย์, วรงค์กช เชษฐพันธ์, อุบลวรรณ ภูษา และ สุภัทรา สุขเกษม. (2565). การศึกษาการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการ ณ ศูนย์นวัตกรรมคลินิกเขตเมือง. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2), 218-31. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/253251/172238

เดชา สุคนธ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรควัณโรค เอชไอวี ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบซีในเรือนจำ โครงการราชทัณฑ์ปันสุขทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เขตสุขภาพที่ 4. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 13(3), 71-85. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JMPH4/article/view/262540/180041

นภาพร พิมพ์สิงห์, รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม, ขวัญดาว ตรีศูนย์, ยง ภู่วรวรรณ และ นวรัตน์ โพธิ์สุวรรณ. (2564). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 8(3), 28-40. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/253404/170822

ฝ่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี. (2567). ผลการดำเนินงานคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567. ลพบุรี: กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี.

ภาณุพันธุ์ ธนปฐมสินชัย, จรรยา ดวงแก้ว และ ถนอม นามวงศ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ในพนักงานคัดแยกขยะสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยโสธร. วารสารควบคุมโรค, 47(3), 531-41. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/247519/170342

วิจิตร์ โทนศิริิ. (2565). ความชุกการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อซิฟิลิสในโลหิตของผู้้บริจาค งานธนาคารเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุุรีี. วารสารศููนย์์การศึึกษาแพทยศาสตร์์คลิินิิก โรงพยาบาลพระปกเกล้้า, 39(1), 72-79. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/250757/174782

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, จิรบูรณ์ โตสงวน และ หทัยชนก สุมาลี. (2553). บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างเสริมสุขภาพและข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องการกระจายอำนาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2566). ยุทธศาสตร์กำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ. 2565–2573. สมุทรปราการ: เอส.บี.เค การพิมพ์.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2565ก). แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาต้านไวรัส. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2565ข). แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาต้านไวรัส. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.

ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2565ค). แนวทางการดําเนินงานตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง เพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค.

ศูนย์สาธิตเวชศาสตร์ป้องกัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค. (2567). แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค.

สมชาย อินทรศิริพงษ์ และ วัฒนะ อินทรศิริพงษ์. (2559). ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี ซิฟิลิส และเอชไอวี ในผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 38(3), 157-61. สืบค้นจาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/MNRHJ/article/view/1606/895

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค. (2567). สถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบบีเปรียบเทียบ 5 ปี ย้อนหลัง. สืบค้นจาก https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/79acb97f-47cb-4d00-b087-59a64833321e/page/p_pf3wd640uc?s=tvUj0oZ8M_Y

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค. (2567). สถานการณ์โรคไวรัสตับอักเสบซีเปรียบเทียบ 5 ปี. สืบค้นจาก https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/e65a2f5c-7ad3-d54-9735-2249588887a4/page/p_pf3wd640uc

สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี. (2566). ข้อมูลประชากรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี. สืบค้นจาก https://lopburi.nso.go.th/lopburi/statistical-information-service/key-indicators-of-the-province/population-2561_.html

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2566). ประกาศการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/downloads/233

โอฬาร วิวัฒนาช่าง, สุรีรัตน์ วัชรสุวรรณเสรี, ประภาภรณ์ กิจวัฒนาชัย, พรณภา ราญมีชัย, เนตรณพิศ มณีโชติ, ธีราภรณ์ ต๊ะวิไชย และ สุชาดา ภัยหลีกลี้. (2567). ความชุก และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ไวรัสเอชไอวี และซิฟิลิสของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดอุดรธานี. วารสารควบคุมโรค, 50(3), 463-75. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/270529/184236

Samo, A. A., Laghari, Z. A., Baig, N. M., & Khoso, G. M. (2021). Prevalence and Risk Factors Associated with Hepatitis B and C in Nawabshah, Sindh, Pakistan. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 104(3), 1101–05. Retrieved from https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC7941847

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-16

How to Cite

สมสอน ส. . . (2025). การคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(2), 40–52. https://doi.org/10.57260/stc.2025.997