ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายหลังมื้ออาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
The Effect of Self- Efficacy Promoting Program with Postprandial Exercise on Blood Sugar Levels among Older Adults with Type 2 Diabetes
คำสำคัญ:
สมรรถนะแห่งตน, การย่ำเท้าแกว่งแขน, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, น้ำตาลในเลือดบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งส่งผลต่อผู้คนทุกวัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Non-randomized control-group pretest posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายหลังมื้ออาหารต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60-79 ปี ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 61 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 31 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายหลังมื้ออาหาร ประกอบด้วย กิจกรรมที่ส่งเสริมให้กลุ่มทดลองรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการออกกำลังกายด้วยการย่ำเท้าแกว่งแขนหลังมื้ออาหารเป็นเวลา 15 นาทีต่อมื้อ 3 มื้อต่อวัน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการคาดหวังผลลัพธ์เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีระดับน้ำตาลในเลือดสะสม HbA1c ลดลง และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่ระดับน้ำตาลในเลือด FBS ณ เวลาที่เจาะ แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกำลังกายหลังมื้ออาหาร สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมเลือดได้ ดังนั้นสามารถนำไปใช้กับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่อไป
Downloads
References
กรมควบคุมโรค. 5 โรคไม่ติดต่อที่พบในผู้สูงอายุและเสียชีวิตในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dncd/publishinfodetail.php?publish=15282&deptcode=dncd
ไทยโพสต์. คนกรุงเทพฯ ป่วยเบาหวานมากสุดของประเทศ 17 ใน 100 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/35dee341-7664-ed11-80fa-00155db45626
World Health Organization. Diabetes [Internet]. 2024 [cited 2024 Oct 22].
Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabets
อรทัย เขียวเจริญ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, ธันวา ขัติยศ, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, ชลธิดา ใบม่วง, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. วิธีวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย: วิธีต้นทุนจุลภาค. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;2(2):156–74.
สุภาพร คำสม, แสงทอง ธีระทองคำ, กมลรัตน์ กิติพิมพานนท์. ผลของโปรแกรมออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2560;2(2):46–60.
Knapp S. How walking after eating impacts your blood sugar [Internet]. 2023 [cited 2024 Oct 25]. Available from: https://link.bsru.ac.th/15m3
ลินดา อ่องนก. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.
Bellini A, Nicolò A, Bazzucchi I, Sacchetti M. The effects of postprandial walking on the glucose response after meals with different characteristics. Nutrients 2022;14(5):1080. doi:10.3390/nu14051080
ลลิตา จันมี. การวิเคราะห์อภิมานผลของการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
กิตติภูมิ ภิญโย, อารีวรรณ เชิงซุ่ม, รุ่งรัตน์ ศรีสุข, รัฐกร รื่นเริงใจ, ลลิดา ใจมา, ชญาดา บับพาน [และคณะ]. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำพื้นบ้านอีสานประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2020;40(3):1–14.
Liu Y, Ye W, Chen Q, Zhang Y, Kuo CH, Korivi M. Resistance exercise intensity is correlated with attenuation of HbA1c and insulin in patients with type 2 diabetes: a systematic review and meta-analysis. Int J Environ Res Public Health 2019;16(1):1–21. doi:10.3390/ijerph16010021
Gurudut P, Rajan AP, Gurudut P, Rajan AP. Immediate effect of passive static stretching versus resistance exercises on postprandial blood sugar levels in type 2 diabetes mellitus: a randomized clinical trial. J Exerc Rehabil 2017;13(5):581–7. doi:10.12965/jer.1735118.559
Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.
Yonglitthipagon P, Kumsong P, Nakmareong S, Chanavirut R, Luangaram S. Impact of post-meal spot marching exercise in individuals with type 2 diabetes mellitus: A randomized clinical trial. J Assoc Med Sci 2023;6(2):39–46. doi:10.53879/jams.v6i2.152
แสงทอง ธีระทองคำ. การออกกำลังกายแบบแกว่งแขน เพื่อควบคุมโรคเบาหวาน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 2017;4:36-44.
บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2561;1(1):64–70.
Joint Committee on Standards for Educational Evaluation. Standards for Evaluations of Educational Programs, Projects, and Materials. New York: McGraw-Hill; 1981.
วิจิตรา ชัยภักดี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติ ตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ภาวะไตแทรกซ้อนเรื้อรัง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2024;1(1):61–82.
Heiskanen MA, Motiani KK, Mari A, Saunavaara V, Eskelinen JJ, Virtanen KA, Hannukainen JC. Exercise training decreases pancreatic fat content and improves beta cell function regardless of baseline glucose tolerance: a randomized controlled trial. Diabetologia 2018;61(8):1817–28. doi:10.1007/s00125-018-4663-y
พงษ์รัตน์ ไกรพรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ (รายงานการวิจัย) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 ธ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssiweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=239
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.