การเปรียบเทียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ โดยใช้กล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์และไม้วัดความสูง

A Comparative Analysis of Estimating Tree Carbon Stock using Rangefinder Camera and Measuring Pole for Tree Height Measurements

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ มาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลำปาง
  • ละมาย จันทะขาว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลำปาง
  • ดลฤดี สุขใจ สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลำปาง
  • ถิรนันท์ สอนแก้ว สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลำปาง

คำสำคัญ:

ไม้วัดระยะความสูง, กล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์, การกักเก็บคาร์บอน, ความสูงต้นไม้

บทคัดย่อ

         ต้นไม้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในวิธีการประมาณค่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้ ได้แก่ การหามวลชีวภาพ ด้วยความสัมพันธ์ในรูปของสมการ แอลโลเมตรี โดยใช้ข้อมูลค่าความสูงและเส้นรอบวงของต้นไม้ในการคำนวณ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเครื่องมือวัดความสูงของต้นไม้ระหว่างการใช้ไม้วัดระยะความสูงและการใช้กล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์ สำหรับการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างของต้นไม้เป็นประเภทพรรณไม้ทั่วไป ชนิดไม้ยืนต้น ทั้งหมด 97 ต้น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง บนพื้นที่ 15,605.10 ตารางเมตร โดยค่าความสูงของต้นไม้จากการวัดทั้งสองวิธีได้นำมาหาค่าเฉลี่ยพร้อมจัดระดับชั้นเป็นช่วงความสูงของต้นไม้ (H-Class) ทั้งหมด 5 ช่วง ได้แก่ ช่วง 2-4, 4-6, 6-8, 8-10 และมากกว่า 10 เมตร โดยพบว่าค่าความสูงของต้นไม้ที่วัดโดยใช้ไม้วัดความสูงในแต่ละช่วงมีค่าเท่ากับ 3.467, 5.033, 6.980, 9.180 และ 11.117 เมตร ตามลำดับ และการใช้กล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์ได้ค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นไม้เท่ากับ 3.290, 4.909, 6.876, 9.062 และ 10.940 เมตร ตามลำดับ การคำนวณทางสถิติพบว่าการใช้เครื่องมือวัดทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) ของการวัดทั้งสองวิธีมีค่าเท่ากับ 0.996 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาความคลาดเคลื่อนของค่าที่ได้จากผู้วัดความสูงของต้นไม้หมด 3 คน ด้วยกล้องวัดระยะความสูงเลเซอร์และการวัดซ้ำของแต่ละคนพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95  เช่นกัน เมื่อนำผลดังกล่าวมาคำนวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้จากการใช้ไม้วัดความสูงและกล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์ พบว่ามีปริมาณการกักเก็บคาร์บอน 19,329 และ19,126 กิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่า (kgCO2eq) ตามลำดับ ซึ่งให้ความแตกต่าง 1.3 % เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าการวัดความสูงทั้งสองวิธีให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

NOAA. Trends in atmospheric carbon dioxide [Internet]. 2024 [cited 2024 February 20]. Available from: https://gml.noaa.gov/ccgg/trends/

นาฏสุดา ภูมิจำนงค์. แหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใต้พิธีสารเกียวโต. ใน: การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางด้านป่าไม้: ป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 16-17 ส.ค.2547, กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์; 2547. 1-16.

วัฒนณรงค์ มากพันธ์, จิตติมา รับไทรทอง, สุภาวดี แซะอาหลี. ปริมาณคาร์บอนสะสมในต้นไม้ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ SWU Journal/article/view/10872

Eggleston HS, Buendia L, Miwa K, Ngara T, Tanabe K. 2006 IPCC guidelines for national greenhouse gas inventories [Internet]. 2006 [cited 2024 January 20]. Available from: https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/

Larjavaara M, Muller-Landau HC. Measuring tree height: a quantitative comparison of two common field methods in a moist tropical forest. Methods Ecol Evol. 2013;4:793–801. doi: https://doi.org/10.1111/2041-210X.12071

Pariyar S, Mandal RA. Comparative tree height measurement using different instrument. Int J Ecol Environ Sci. 2019;1(2):12-7.

Pothong T, Elliott S, Chairuangsri S. New allometric equations for quantifying tree biomass and carbon sequestration in seasonally dry secondary forest in northern Thailand. New Forests 2022;53:17–36. doi: https://doi.org/10.1007/s11056-021-09844-3

Kearsley E, de Haulleville T, Hufkens K, Kidimbu A, Toirambe B, Baert G, et al. Conventional tree height–diameter relationships significantly overestimate aboveground carbon stocks in the Central Congo Basin. Nat Commun. 2013;4:2269. doi: https://doi.org/10.1038/ncomms3269

อบก. โครงการด้านป่าไม้และการเกษตร. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ghgreduction.tgo.or.th/th/calculation/less-calculate-document/less-forest-agriculture.html

ดอกรัก มารอด. บทปฏิบัติการการวิเคราะห์สังคมพืช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.

Martin AJF. Accuracy and precision in urban forestry tools for estimating total tree height. Arboric. Urban For. 2022;48(6):319-32. doi: https://doi.org/10.48044/jauf.2022.024

Pace R, Masini E, Giuliarelli D, Biagiola L, Tomao A, Guidolotti G, et al. Tree measurements in the urban environment: Insights from traditional and digital field instruments to smartphone applications. Arboric. Urban For. 2022;48(2):113-23. doi: https://doi.org/10.48044/jauf.2022.009

Ogawa H, Yoda K, Ogino K, Kira T. Comparative ecological studies on three main types of forest vegetation in Thailand II plant biomass. Nat Life SE Asia. 1965;4:49-80.

Avery TE, Burkhart HE. Forest Measurements. 5th ed. New York, NY: McGraw-Hill; 2001.

Pumijumnong N, Payomrat P, Techamahasaranont J, Panaadisai S. Environmental factors control and climate change impact on forest type: Dong PraYa Yen-KhaoYai world heritage in Thailand. Nat Sci. 2013 5;135-43. doi: 10.4236/ns.2013.51A021

Vasilescu MM. Standard error of tree height using vertex III. Bulletin of the Transilvania University of Braşov, Series II: For Wood Ind Agric Food Eng. 2013;6(55):75-80

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

1.
มาลัย ศ, จันทะขาว ล, สุขใจ ด, สอนแก้ว ถ. การเปรียบเทียบวิธีการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ โดยใช้กล้องวัดระยะความสูงชนิดเลเซอร์และไม้วัดความสูง: A Comparative Analysis of Estimating Tree Carbon Stock using Rangefinder Camera and Measuring Pole for Tree Height Measurements. AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 2 กรกฎาคม 2025];25(2):46-6. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/818