การตรวจสอบสารแอลคาลอยด์เบื้องต้นปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนลำต้นและใบเขยตาย

Preliminary Detection of Alkaloids, Total Phenolic Content, and Antioxidant Activity from Stems and Leaves of Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC

ผู้แต่ง

  • ศรัณย์ ฉวีรักษ์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • อภิชาติ ศุภสาร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • ณภัทร ศรีมันตะ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • สุภัทรา กลางประพันธ์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การตรวจสอบสารแอลคาลอยด์เบื้องต้น, ปริมาณฟีนอลิก, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, เขยตาย

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสารแอลคาลอยด์เบื้องต้น ตรวจสอบปริมาณฟีนอลิกด้วยวิธี Folin – Ciocalteu และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วน    ลำต้นและใบเขยตายด้วยวิธี 2, 2-diphenyl 1-picryl hydrazyl (DPPH·) radical scavenging assay และวิธี ferric reducing antioxidant power assay (FRAP) ใช้ตัวทำละลาย 40% เอทานอลในการสกัด ผลการตรวจสอบพบสารแอลคาลอยด์ทั้งในส่วนลำต้นและใบเขยตาย ปริมาณฟีนอลิกในสารสกัดลำต้นและใบเขยตายเท่ากับ 351.22 ± 15.82 และ 329.85 ± 24.63 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิก/กรัมของสารสกัด ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดลำต้นและใบเขยตายที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 70.10 ± 5.22 และ 26.73±6.10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน Trolox® มีค่าร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 98.85 ± 2.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดลำต้นและใบเขยตายแสดงค่าความสามารถในการรีดิวซ์ของเหล็ก เท่ากับ 393.71 ± 4.86 และ 207.20 ± 21.03 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดต้นเขยตายมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่านกลไกที่หลากหลายทั้งการกำจัดอนุมูลอิสระโดยตรงและการยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ จากสารออกฤทธิ์หลักในกลุ่มแอลคาลอยด์ อีกทั้งสารสกัด   ลำต้นเขยอาจที่มีปริมาณฟีนอลิกมากกว่าสารสกัดใบ ทำให้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำส่วนลำต้นเขยตายมาใช้แทนใบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Khandokar L, Bari MS, Seidel V, Haque MA. Ethnomedicinal uses, phytochemistry, pharmacological activities and toxicological profile of Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.: A review. Journal of ethnopharmacology, 2021 Oct 5; 278:114313.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. เขยตาย [อินเทอร์เน็ต]. 2010 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=186

Zondegoumba EE, Tankoua W, Santos R, Ndogo O, Nyassé B, Junior FM, Scotti L, de Lima M, Scotti M. Chemistry of arborinine and pharmacological activities. Conference on Molecular, Biomed., Comput. & Network Science and Engineering, 4th ed. USA., 2018.

บุหรัน พันธุ์สวรรค์. อนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556; 21(3):275-286.

อรัญญา จุติวิบูลย์สุข. การใช้สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติในการป้องกันผิวหนังจากการถูกทำลายโดยรังสีอัลตราไวโอเลต. วารสารมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2556; 5(10):110-27.

พระธาตรี อุปฺปลวณฺโณ. ประมวลตำรายา อโรคยาศาลวัดป่ากุดฉนวนอุดมพร ฉบับสงวนเก็บรักษาฯ. ชัยภูมิ : อโรคยาศาล วัดป่ากุดฉนวนอุดมพร, 2557:163.

Ramavat B, Sharma T, Bapna V, Purohit P. Review on ethnomedicinal claims and pharmacological activity of Asvashakhotah (Glycosmis pentaphylla [Retz.] A. DC): An Extrapharmacopoeial Plant of Ayurveda. Journal of Ayurveda. 2024 Jan 1;18(1):70-80.

สุภัทรา กลางประพันธ์, ศิริรักษ์ โหมดเทศ, รัตนา บุญคุณ, ศรัณย์ ฉวีรักษ์. คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และฤทธิ์ต้านอนูมูลอิสระของพิกัดยาตรีสาร. วารสาร มฉก.วิชาการ, 2565; 26(2):222-34.

Chaweerak S, Padumanonda T, Luecha P. Phytochemical screening and antioxidant activity of “um-ma-ruek-ka-va-tee” herbal formula. Interprofessional Journal of Health Sciences, 2021; 19(1):16-24.

Bulbul IJ, Jahan N. Study on antioxidant and antimicrobial activities of methanolic leaf extract of Glycosmis pentaphylla against various microbial strains. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 2016; 5(4):53-7.

ปาริศา ชุติพงษ์ไพโรจน์. ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศต่อความชราของผิว แนวทางการป้องกันและบรรเทา : ทบทวนวรรณกรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2563.

Dumrongphuttidecha T, Khobjai W, Techaeoi S, Jarmkom, K, Thungmungmee S. Phytonutrient screening by Gas Chromatography–mass Spectrometry and Anti-aging Properties of Glycosmis pentaphylla (retz.) Dc. (som-chuen) extracts. International Journal of Applied Pharmaceutics, 2021; 13(1):55-8.

Prakasia PP, Nair AS. Evaluation of in vitro antioxidant potential of the total crude alkaloid extract of Glycosmis pentaphylla (Retz.) Correa leaves. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences, 2016; 8(3):85-91.

Babu VS, Radhamany PM. Antioxidant efficacy and evaluation of crude drug parameters of Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. International Journal of Pharmacognosy, 2020; 7(7):183-92.

นันท์นภัส เติมวงศ์, รัชนี สุวรรณนุรักษ์, สุรนันท์ ตีระวัฒนพงษ์. การตรวจหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟลาโวนอยด์ และสารประกอบฟีนอลิกในพืชสมุนไพร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 2567; 24(1):202-16.

คณะทำงานสนับสนุนข้อมูลการวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน ในคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา. รายงานการพิจารณาศึกษา การวิจัยทางคลินิกและการจัดการข้อมูลการใช้สมุนไพรในคน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2565: ก (บทสรุปผู้บริหาร).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

1.
ฉวีรักษ์ ศ, ศุภสาร อ, ศรีมันตะ ณ, กลางประพันธ์ ส. การตรวจสอบสารแอลคาลอยด์เบื้องต้นปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนลำต้นและใบเขยตาย: Preliminary Detection of Alkaloids, Total Phenolic Content, and Antioxidant Activity from Stems and Leaves of Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 26 กรกฎาคม 2025];25(2):81-94. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/864