ผลของอัตราส่วนของเร่วหอมและน้ำต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพและทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่

Effect of Etlingera pavieana and Water Ratio on Physico-chemical and Sensory Qualities of Gummy Jelly Product

ผู้แต่ง

  • กุลพร พุทธมี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี
  • วริศชนม์ นิลนนท์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี

คำสำคัญ:

กัมมี่เยลลี่, เร่วหอม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของเร่วหอมต่อน้ำที่เหมาะสมในการผลิตกัมมี่เยลลี่เร่วหอม โดยศึกษาอัตราส่วนของ เร่วหอม : น้ำเปล่า แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 10:90  25:75 และ 40:60  พบว่า น้ำเร่วหอมที่ได้ มีร้อยละของผลผลิตเท่ากับร้อยละ 60  50 และ 47 ตามลำดับ โดยมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด  อยู่ในช่วง 1.5-2.0 o Brix  ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่เร่วหอมที่มีอัตราส่วนของ เร่วหอม : น้ำเปล่า เท่ากับ 40:60 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสจากผู้ทดสอบมากที่สุด โดยได้คะแนนความชอบโดยรวมในระดับชอบเล็กน้อย มีค่าสี L* , a* และ b* เท่ากับ 26.47  8.10 และ 8.90 ตามลำดับ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด 65.3 o Brix มีค่า hardness เท่ากับ 3,660.76 gf  ค่า cohesiveness เท่ากับ 2.76  ค่า springiness เท่ากับ 0.49 s  ค่า chewiness เท่ากับ 4,872.07 gf และค่า gumminess เท่ากับ 10,053.43 gf ค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) เท่ากับ 0.90 ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 3.95 มีองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ความชื้นร้อยละ 29.59 โปรตีนร้อยละ 12.77 ไขมันร้อยละ 0.004 และเถ้าร้อยละ 0.31 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤติกา นรจิตร. คุณสมบัติของสารสกัดจากพืชวงศ์ขิง : อิทธิพลของวิธีการสกัดต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี; 2548.

สุรัตน์วดี จิวะจินดา. จากเร่วหอมสู่ผลิตภัณฑ์. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 2554;56:26-33.

ณัฐวัฒน์ คลังทรัพย์. เร่วหอม พืชสมุนไพร. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=73621.

ธีรวรรณ สุวรรณ์, วัชระ ประดุจพรม, วิไลพร งามรูป,ณัฐยาน์ ชูสุข และจันทิมา ภูงามเงิน. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ใบรางจืด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2560;22:189-201.

สุกัญญา เขียวสะอาด, สรัญญา ชวนพงษ์พานิช และอัศวิน ดาดู. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากสารสกัดดอกบุนนาค. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563;28:2186-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

1.
พุทธมี ก, นิลนนท์ ว. ผลของอัตราส่วนของเร่วหอมและน้ำต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพและทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่: Effect of Etlingera pavieana and Water Ratio on Physico-chemical and Sensory Qualities of Gummy Jelly Product. AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 2 กรกฎาคม 2025];25(2):95-108. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/867