การประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของสถานบริการสระว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Assessment of Health and Safety Standard of Swimming Pool at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • กิจจา จิตรภิรมย์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • ณัฏฐา ศรีลายอดน้อย สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • วรวรรณ บุญส่ง สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

สระว่ายน้ำ, ประเมินความเสี่ยง, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

          การบาดเจ็บและจมน้ำในสถานบริการสระว่ายน้ำยังมีรายงานอย่างต่อเนื่อง การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงการประเมินความเสี่ยงในสถานบริการสระว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบตรวจสอบรายการในช่วงหนึ่งสัปดาห์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ระดับคะแนน และร้อยละ

         ผลการประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยโดยรวมทั้ง 8 ด้าน (1. ด้านสถานที่ตั้ง  2. ด้านสระว่ายน้ำและอาคารประกอบ  3. ด้านข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการ  4. การจัดการเกี่ยวกับสารเคมี  5. การจัดการสิ่งปฏิกูลน้ำเสียและมูลฝอย  6. การสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่ม  7. การป้องกันควบคุมสัตว์  8. การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย) พบว่าสถานบริการสระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (ร้อยละ 84.0) แต่พบผลการประเมินระดับความเสี่ยงของสระว่ายน้ำมีความเสี่ยงสูง (8 คะแนน) ในด้านความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยชีวิต ผลจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการตรวจสอบมาตรฐานด้านสุขภาพความปลอดภัยของสระว่ายน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการด้านระบบรักษาความปลอดภัยสระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 – 2549 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ; 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 21]. เข้าถึงได้จาก:https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-13--482.pdf

กลุ่มงานวิจัยพฤติกรรมและปรากฏการณ์สังคม. บทวิเคราะห์: สถานการณ์กิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2565 และแนวทางส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 20]. เข้าถึงได้จาก: https://tpak.or.th/th/article_print/647

กรุงเทพธุรกิจ. ตลาดสร้างสระว่ายน้ำโต 5-8% มูลค่า 4,500 ล้าน แนวโน้มสระกลาง-เล็กเพิ่มขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ค. 29]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/business/796749

กรมสุขภาพจิต. ว่ายน้ำ กีฬาฝึกสมองและฟื้นฟูความจำ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31064

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เปิดสถิติหน้าร้อน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบ “เด็กจมน้ำ” กว่า 9 ร้อยราย แนะผู้ปกครองสนับสนุนให้เด็กเรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 31]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/187327/

คณะกรรมการสาธารณสุข. คำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ฉบับที่ 1/2550 เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mwa.

co.th/ewt_dl_link.php?nid=47126

คณะกรรมการสาธารณสุข. เรื่องแนวทางการควบคุมการประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 21]. เข้าถึงได้จาก: https://laws.anamai.moph.go.th/th/recommendation/19313809.11.2563

ดนัย บวชเกียรติกุล. การศึกษาประเมินการสุขาภิบาลสระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2550;2(1):47-54.

อารยะ ภูมิจิตรอมร. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสระว่ายน้ำในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 2563;9(2):26-33.

Müller K, Schneider H. A comparative study of fitness center standards across Europe. Eur J Sports Sci. 2020;26(4):200-15.

พลากร ชาญณรงค์. รูปแบบการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกทางกีฬาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงาน 2543 [อินเทอร์เน็ต]. 2543 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พ.ย. 21]. เข้าถึงได้จาก:https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2021/07/law-fac-saft-17112543.pdf

ValuePenguin. Swimming pool injuries return to pre-COVID-19 pandemic levels [Internet]. 2023 [cited 2024 May 29]. Available from: https://www.valuepenguin.com/swimming-pool-injuries-study

Dansker & Aspromonte. What are some common injuries at a pool [Internet]. 202 [cited 2024 May 31].Available from: https://www.dandalaw .com/faqs/what-are-some-common-injuries-at-a-pool/

อุมารัตน์ ศิริจรูญวงษ์. What If Analysis เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 2554;5(1):153-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

1.
จิตรภิรมย์ ก, ศรีลายอดน้อย ณ, บุญส่ง ว. การประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยของสถานบริการสระว่ายน้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา: Assessment of Health and Safety Standard of Swimming Pool at Bansomdejchaopraya Rajabhat University . AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 2 กรกฎาคม 2025];25(2):109-22. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/885