ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมต่อความไม่แน่นอนของการวัดและการปรับปรุงความแม่นยำของเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบมือบิด
Impact of Environmental Conditions on Measurement Uncertainty and Accuracy Improvement of a Paddy Hand-Help Moisture Meters
คำสำคัญ:
ความไม่แน่นอนในการวัด, เครื่องมือความชื้นแบบบิดมือ, แบบจำลองการวัดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากการวัดของเครื่องมือวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบมือบิด โดยวิธีการประมาณค่าในช่วงเชิงเส้นแบบพหุนาม (Linear Interpolation) โดยการสำรวจไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทำการบันทึกผลของความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity)และอุณหภูมิ(Temperature)ของสภาวะแวดล้อมแล้วจึงนำผลการสำรวจมาทำการสร้างแผนภูมิพาเรโตเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของปัญหา จากนั้นจึงทำการออกแบบการทดลองแบบ Full Factorial Design เพื่อกำหนดระดับของปัจจัยในการสอบเทียบ ได้แก่ สภาวะห้องปฏิบัติการสอบเทียบความชื้น 50%RH , สภาวะควบคุมความชื้น 30%RH, 85%RHและสภาวะสนามที่เวลา 11.00 น. ,15.00 น. วัสดุอ้างอิงรับรอง (Certified Reference Materials (CRM))ที่ใช้มี 2 ขนาดคือ14.18%mc และ 17.95%mc นำมาใช้เป็นมาตรฐานในการสอบเทียบเครื่องมือวัดความชื้นข้าวเปลือกชนิดมือบิด จากนั้นนำผลการวัดทั้ง 3 สภาวะ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมมินิแทป18 ผลการศึกษาพบว่า ค่าความไม่แน่นอนที่ได้จากการวัดของเครื่องมือวัดความชื้นข้าวเปลือกแบบมือบิดในสภาวะสนามที่เวลา 11.00 น. ,15.00 น. โดยใช้วัสดุอ้างอิงรับรอง (Certified Reference Materials (CRM)) ที่ระดับความชื้น 14.18%mc และ 17.95%mc แสดงผลที่แตกต่างกัน ผลก่อนการปรับปรุงมีค่าเท่ากับ -0.25%mc และ -0.93%mc ตามลำดับ และหลังการปรับปรุงมีค่าเท่ากับ 0.0727 %mc และ 1.3617%mc ตามลำดับ
Downloads
References
วันชัย ชินชูศักดิ์. เทคนิคการประมาณค่าความไม่แน่นอนของระบบสอบเทียบสายวัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2561.
Lawal SS, Bala KC, Adeyemi MB. Development of resistance type moisture measuring device for grains. Leonardo Electron J Pract Technol. 2017;30:255-68.
มาตาญาวี นวมทอง. ผลของภูมิอากาศต่อการเติบโตของสนท้องถิ่นและสนต่างถิ่นสถานีวนวัฒนวิจัยอินทนิล จังหวัดเชียงใหม่ [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2563.
โสภิดา ท้วมมี. การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตพลาสติกแผ่นโดยการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง : กรณีศึกษา บริษัทในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2551.5. T. Blu , P.Thevenaz , M.Unser. Linear interpolation revitalized. IEEE Xplore (Jounals & Magazines) Volume: 13, Issue: 5, May 2004.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.