การพัฒนาระบบสารสนเทศร้านขายบ้านน็อคดาวน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

The Development of Knockdown House Shop Management System, Wiset Chaichan District, Ang Thong Province

ผู้แต่ง

  • สิริพร อินทสนธิ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
  • เอกชัย สมบุญโต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ระบบสารสนเทศ, ร้านขายบ้านน็อคดาวน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศร้านขายบ้านน็อคดาวน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ บ้านน็อคดาวน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบ้านน็อคดาวน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้โปรแกรม Visual Studio code ร่วมกับภาษา C#  และฐานข้อมูล MySQL เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)  ระบบสารสนเทศร้านขายบ้านน็อคดาวน์ 2) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ทำการวิเคราะห์ค่าโดยใช้สถิติวิจัยเชิงพรรณนา และกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำนวน 3 คน และผู้ใช้งานระบบคือเจ้าของร้านและลูกค้า จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sample)  ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยแก้ปัญหาการจัดการข้อมูลของร้านขายบ้านน็อคดาวน์ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อวัสดุ ข้อมูลการขายบ้านน็อคดาวน์ และพิมพ์รายงาน ซึ่งทำให้ข้อมูลของร้านมีความเป็นระบบ และสมบูรณ์ โดยผลการประเมินประสิทธิภาพระบบในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.19 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. คู่มือพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย PHP & AJAX+JQuery ฉบับ Workshop. กรุงเทพฯ: สวัสดีไอที; 2556.

กิตติยา ไสยญาติ, จันจิรา ดีเลิศ. การพัฒนาระบบสารสนเทศร้านขายอุปกรณ์อิงค์เจ็ท: กรณีศึกษา ร้าน ส.บ้านศิลป์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2567;6(1):40–52.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2560.

สมนึก ภัทพิยธนี. การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์; 2537.

พิสุทธา อารีราษฎร์. การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์; 2550.

พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม. การพัฒนาระบบการขายสินค้าหน้าร้านกรณีศึกษาบริษัทพอเพียงอินดัสทรี จำกัด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2566;11(2):101–19.

คณิต หินอ่อน. การพัฒนาระบบสารสนเทศการผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย: กรณีศึกษาศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564.

วราพร กรีเทพ, ธนาวุฒิ ชัยชนะ, มณีรัตน์ ฤทธิ์สิงห์. การพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านอิเล็กทรอนิกส์เซอร์วิส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2564;5(2):1–19.

นุชรัตน์ นุชประยูร, ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, เจษฎา อิสเหาะ, อาณัติ รัตนถิรกุล, สุมนา บุษบก. การพัฒนาระบบตลาดออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์และจำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุยที่ผ่านการเลี้ยงแบบระบบปิดโดยใช้เทคนิคไบโอฟลอค. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2566;23(1):R72–R88.

ชลิดา จันทจิรโกวิท, ศรีนวล ฟองมณี. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อขายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตเทศบาลตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ; 2561. หน้า 1632–42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-01

How to Cite

1.
อินทสนธิ์ ส, สมบุญโต เ. การพัฒนาระบบสารสนเทศร้านขายบ้านน็อคดาวน์ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง: The Development of Knockdown House Shop Management System, Wiset Chaichan District, Ang Thong Province. AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 2 กรกฎาคม 2025];25(2):180-98. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/925