ผลของความเข้มข้นฮิวมิคแอซิคร่วมกับเอ็นเอเอในลูกบอลปักชำต่อการชักนำให้เกิดรากและย้ายออกปลูกของยอดสับปะรดพันธุ์ LP1 ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.156คำสำคัญ:
ฮิวมิคแอซิค , เอ็นเอเอ , ลูกบอลปักชำ , สับปะรดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของฮิวมิคแอซิค (Humic acid, HBC) ร่วมกับเอ็นเอเอ (1-Naphthalene acetic acid, NAA) ในลูกบอลปักชำ (Cutting-ball) ต่อการชักนำให้เกิดรากและย้ายออกปลูกของยอดสับปะรดพันธุ์ LP1 ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำการวางแผนการทดลองแบบปัจจัยร่วมในสุ่มสมบูรณ์ (Factorial in Completely Randomized Design, CRD) มี 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของสาร HCB (0.20 0.60 และ 1.80 มก./ล.) ร่วมกับความเข้มข้นของสาร NAA (0.25 0.50 และ 1.00 มล./ล.) เปรียบเทียบกับที่ไม่เติมสาร HBC และ NAA (ชุดควบคุม; control) โดยมีทั้งหมด 10 กรรมวิธี ๆ ละ 15 ซ้ำ หลังจากเพาะเลี้ยงได้ 4 สัปดาห์ พบว่า
ยอดสับปะรดพันธุ์ LP1 ในลูกปักชำที่เติม HBC และ NAA ที่ระดับความเข้มข้น 0.60 มก./ล. และ 1.00 มก./ล. ชักนำให้เกิดรากได้ดี มีการเจริญและพัฒนาของยอด โดยการสังเกตจากพื้นที่ใบและดัชนีความเขียวของใบ และไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในระหว่างที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้เทคนิคลูกบอลปักชำในขั้นตอนเดียวกับการชักนำการเกิดรากและย้ายออกปลูกของยอดสับปะรด สามารถลดระยะเวลาในขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ 30 วัน
References
กรมวิชาการเกษตร. (2563). หนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน. บางเขน, กรุงเทพฯ.
ณิชารีย์ เผ่าพงศ์นา และอภิชาติ ชิดบุรี. (2561). ผลของระยะเวลาและอุณหภูมิการเก็บรักษาลูกบอลปักชำต่อการเจริญของชิ้นส่วนปลายยอดกุหลาบที่ได้จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. หน้า 473-478. ในรายงการการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 (น. 473-478). ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2561 โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์เชียงใหม่.
บุญยืน กิจวิจารณ์. (2547). เทคโนโลยีเบื้องต้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ปิยะวดี เจริญวัฒนะ. (2550). ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญและพัฒนาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรด. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี. 11(3): 65-73.
รัชชากรณ์ ว่องไววิริยกิจ, กุลนาถ อบสุวรรณ และนัทธีรา สรรมณี. (2555). การทดสอบกรดฮิวมิกที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ในการแทนที่สารคีเลทต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเมล็ดมะเขือเปาะโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ระดับธาตุอาหารต่ำ. ในรายงานการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 (น.793-806) ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยศิลปกร, กรุงเทพฯ.
อภิชาติ ชิดบุรี. (2561). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดเพื่อการขยายพันธุ์. ในรายงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประจำปี 2561 (น. 74) . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่.
Chen, Y., & Aviad, T.. (1990). “Effects of humic substances on plant growth”. In MacCarthy, P., Clapp, C.E., Malcom, R.L., Bloom, P.R. (Eds.). Humic Substances in Soils and Crop Science: Selected Readings. 161-186. Soil Science Society of America, Madison.
Fukaki, H. & Tasaka, M. (2009). Hormone interactions during lateral root formation. Plant Mol. Biol. 69, 437–449.
Murashige, T. & Skoog, F. (1962). A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures, Physiol. Plant. 15: 473-497.
Nunes, R.O., Domiciano, G.A., Alves, W.S., Melo, A.C.A., Nogueira, F.C.S., Canellas, L.P., Olivares, F.L., Zingali, R.B. & Soares, M.R. (2019). Evaluation of the effects of humic acids on maize root architecture by label-free proteomics analysis. Scientific reports. 9:12019. 1-11.
Trevisan, S., Francioso, O., Quaggiotti, S. & Nard, S. (2010). Humic substances biological activity at the plant-soil interface. Plant Signaling&Behavior, 5:6. 635-643.
Varanini, Z. & Pinton, R. (2001). Direct versus indirect effects of soil humic substances on plant growth and nutrition. In: Pinton, R., Varanini, Z. Nannipieri, P. (Eds.), The Rizosphere, Marcel Dekker, Basel. 141-158.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.