ผลของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืชต่อผลผลิตมะพร้าวพันธุ์ไทยต้นสูง

ผู้แต่ง

  • Piyanun Wiwatwittaya -
  • ทิพวรรณ แก้วหนู กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • ปฏิมาภรณ์ จินจาคาม กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • ศรีสุดา รื่นเจริญ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • พีรพงษ์ เชาวนพงษ์ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • กุลินดา แท่นจันทร์ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จังหวัดชุมพร 86130
  • ธนพันธ์ พงษ์ไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84170

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.161

คำสำคัญ:

มะพร้าว, ปุ๋ย, การวิเคราะห์ดิน , การวิเคราะห์พืช

บทคัดย่อ

การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตมะพร้าวพันธุ์ไทยต้นสูงต้องทราบสถานะธาตุอาหารในดินและในพืช จึงได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืชในมะพร้าว เพื่อให้ได้การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสม ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จังหวัดชุมพร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2565  พบว่า ปริมาณธาตุอาหารในดิน มีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำ ความเข้มข้นธาตุอาหารในใบ มีความเข้มข้นของไนโตรเจนอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอยู่ในระดับค่ามาตรฐาน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design 3 กรรมวิธี 8 ซ้ำ ประกอบด้วย 1) ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 2) ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร 3) ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบพืช ผลการทดลอง พบว่า การใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีต่างๆ ไม่ทำให้ผลผลิตมะพร้าวแตกต่างกัน แต่การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีแนวโน้มให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นมากที่สุด โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 46 ผลต่อต้น ด้านส่วนประกอบของผล ได้แก่ น้ำหนักผลทั้งเปลือก น้ำหนักผลปอกเปลือก น้ำหนักเปลือก น้ำหนักกะลา น้ำหนักเนื้อ และน้ำหนักน้ำ การใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีต่างๆ ไม่ทำให้ส่วนประกอบของผลแตกต่างกัน แต่การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบพืชทำให้มีน้ำหนักผลและส่วนประกอบอื่นๆ ของผลมากที่สุด คือ 3,308.8 3,178.3 485.3 487.0 904.3 และ 1,803.5 กรัมตามลำดับ

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (-). ข้อมูลการจัดการดิน. https://www.ldd.go.th/Web_Soil/sandy.htm.

กรมวิชาการเกษตร. (2553). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์.

กรมวิชาการเกษตร. (2562). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม. กรุงเทพฯ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยพืชสวนและไม้ยืนต้น. (2545). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยพืชสวนอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กฤษณา กฤษณพุกต์, เกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์, ษราวดี ไทยพงษ์, ภาสันต์ ศารทูลทัต, วชิรญา อิ่มสบาย, ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ, ศุภธิดา ศิริสวัสดิ์, ราตรี บุญเรืองรอด, วันชาติ นิติพันธ์ และอุไรวรรณ นิลเพ็ชร. (2555). การสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของมะพร้าวอ่อนเพื่อส่งออก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. นครปฐม : ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุลพันธ์ เพ็ชรพิรุณ. (2548). การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2548. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

พิทยา ไกรทอง, ปริญดา หรูนหีม, บุญเกื้อ ทองแท้ และอรพิน หนูทอง. (2557). การจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมใน การผลิตมะพร้าวน้ำหอม รายงานเรื่องเต็มผลงานวิจัยสิ้นสุดปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ : กรม วิชาการ เกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ภาสันต์ ศารทูลทัต, โสฬส ธรรมรัตน์, ภัชชา เทศใจธรรม, บุษราภรณ์ พรมประดิษ, ลพ ภวภูตานนท์ และศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต. (2556). ธาตุอาหารในดินและพืชของมะพร้าวน้ำหอมใน อ.ดำเนินสะดวก จ. ราชบุรี. วิทยาศาสตร์เกษตร. 44 (2) (พิเศษ), 529-532.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (-). ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร ปี 2563. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/

Coconut%2063%20dit.pdf.

Bray, R. L. & Kurtz, L. T. (1945). Determination of total organic and Aveailable forms of phosphorus in soils. Soil Sci, 59, 39-45.

Chapman, D.D. (1965). “Total exchangeable bases”, In Black, C. A. (ed). Method of Soil analysis Part 2: Chemical and Microbiological Properties No.9. 902-904. Madison, Wisconsin : American Society of Agronomy Inc.

Chew, P.S. (1982). Nutririon of coconuts - a review for formulation guide lines on fertilizer recommendations in Malaysia. Planter, 54, 141-155.

Jackson, M.L. (1967). Soil Chemical Analysis. New Delhi : Prentice-Hall of India Pvt. Ltd.

Peech, M. (1965). “Hydrogen-ion Activity”, In Black, C.A. (ed). Method of Soil Analysis Part 2: Chemical and Microbiological Properties No.9. 914-925. Madison, Wisconsin : American Society of Agronomy Inc.

Ryan, J., Estefan, G. & Rashid, A. (2001). Soil and Plant Analysis Laboratory Manual. Aleppo : Syrian Arab Republic ICARDA.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-03

How to Cite

Wiwatwittaya, P., แก้วหนู ท., จินจาคาม ป. ., รื่นเจริญ ศ. ., เชาวนพงษ์ พ. ., แท่นจันทร์ ก. ., & พงษ์ไทย ธ. . (2023). ผลของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและพืชต่อผลผลิตมะพร้าวพันธุ์ไทยต้นสูง. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 1(1), 26–33. https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.161