ผลของปุ๋ยคอก ปุ๋ยหินฟอสเฟต และปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะพร้าว

ผู้แต่ง

  • Tipawan Kaewnoo -
  • พีรพงษ์ เชาวนพงษ์ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • สุปรานี มั่นหมาย กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • ศรีสุดา รื่นเจริญ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • นิศารัตน์ ทวีนุต กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • ปิยะนันท์ วิวัฒน์วิทยา กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • ปฏิมาภรณ์ จินจาคาม กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900
  • กุลินดา แท่นจันทร์ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จังหวัดชุมพร 86130
  • ธนพันธ์ พงษ์ไทย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84170
  • ปริญดา หรูนหีม ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84170

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.162

คำสำคัญ:

ต้นกล้ามะพร้าว , ปุ๋ยคอก , ปุ๋ยหินฟอสเฟต , อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา

บทคัดย่อ

การส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะพร้าวในระยะอนุบาล จะช่วยให้ต้นกล้ามีความแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงต่อไป การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยคอก ปุ๋ยหินฟอสเฟต และปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะพร้าวในระยะอนุบาล ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 กรรมวิธี ได้แก่ 1) กรรมวิธีควบคุม 2) ปุ๋ยคอกอัตรา 120 กรัม/ต้น 3) ปุ๋ยคอกอัตรา 170 กรัม/ต้น 4) ปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 3 กรัม/ต้น 5) ปุ๋ยหินฟอสเฟตอัตรา 6 กรัม/ต้น 6) ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาอัตรา 5 กรัม/ต้น และ 7) ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาอัตรา 10 กรัม/ต้น ผลการทดลองพบว่า ค่าดัชนีการงอกและเปอร์เซ็นต์การงอกของต้นกล้ามะพร้าว มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาอัตรา 10 กรัม/ต้น ส่งผลให้ต้นกล้ามะพร้าวที่อายุ 20 สัปดาห์ มีความสูงต้นและจำนวนใบสูงที่สุด นอกจากนี้ พบว่าเปอร์เซ็นต์การเข้าอยู่อาศัยในรากมะพร้าวของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซามีค่าสูงที่สุด เมื่อใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาอัตรา 10 กรัม/ต้น โดยมีค่าเท่ากับ 15.45 เปอร์เซ็นต์

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (ม.ป.ป.). ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคใต้และชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก. http://oss101.ldd.go.th/web_thaisoils/pf_desc/south

/Fd.htm.

กรมวิชาการเกษตร. (2557). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมวิชาการเกษตร. (2564). ปุ๋ยชีวภาพ. กรุงเทพมหานคร. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2554). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. (2556). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.

ศุภกาญจน์ ล้วนมณี สมฤทัย ตันเจริญ ภาวนา ลิกขนานนท์ และสุปรานี มั่นหมาย. (2553). ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยผสมอินทรีย์เคมี ภายใต้สภาพความชื้นสนาม: การทดลองย่อย ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยหมัก. ในผลการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2553 เล่มที่ 1. 333-342.

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2562). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม. นนทบุรี. การรันตี Guarantee.

สุวิมล กลศึก เกริกชัย ธนรักษ์ ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต และนิศารัตน์ ทวีนุต. (2564). ผลของปุ๋ยชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน. วารสารวิชาการเกษตร, 39, 319-329.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). มะพร้าวผลแก่: เนื้อที่ยืนต้น เนื้อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศ รายภาค และรายจังหวัด ปี 2563. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/Coconut%2063(1).pdf.

Bray, R.H. and N. Kurtz. (1945). Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci, 59, 39-45.

Johnson, N.C., J.H. Graham and F.A. Smith. (1997). Functioning of mycorrhizal association along the mutualism parasitism continuum. New phytol, 135, 575-585.

Lu, L.H., Y.N. Zou, Wu Q.S. (2018). Relationship between arbuscular mycorrhizas and plant growth: improvement or depression. In: Giri B., Prsad R., Varma A. (eds) Root Bioligy. Soil Biology, 451-464.

Senarathne, S. H. S. and I. M. P. S., Ilangamudali. (2018). Effectiveness of Arbuscular Mycorrhizal Fungi based biofertilizer on early growth of coconut seedlings. Cord, 34 (2), 30-41.

Walkley, A and I.A. Black. 1947. Chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil Sci. Amer. Proc, 63, 257.

Yano-Melo, A. M., Maia, L. C., Saggin Jr, O. J., Lima-Filho, J. M., & Melo, N. F. (1999). Effect of arbuscular mycorrhizal fungi on the acclimatization of micropropagated banana plantlets. Mycorrhiza, 9(2), 119-123.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-03

How to Cite

Kaewnoo, T., เชาวนพงษ์ พ. ., มั่นหมาย ส., รื่นเจริญ ศ. ., ทวีนุต น. ., วิวัฒน์วิทยา ป. ., จินจาคาม ป. ., แท่นจันทร์ ก., พงษ์ไทย ธ. ., & หรูนหีม ป. . (2023). ผลของปุ๋ยคอก ปุ๋ยหินฟอสเฟต และปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซาต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะพร้าว. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 1(1), 34–42. https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.162