ประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์มะม่วงด้วยวิธีการช่วยผสมเกสรต่อการผสมติดของมะม่วงลูกผสม

ผู้แต่ง

  • ขวัญหทัย ทนงจิตร
  • พิมพ์นิภา เพ็งช่าง สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
  • อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.กรุงเทพฯ 10900
  • กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
  • ดารุณี ถาวรเจริญ สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.165

คำสำคัญ:

มะม่วง, ปรับปรุงพันธุ์มะม่วง, มะม่วงลูกผสม

บทคัดย่อ

การศึกษาการปรับปรุงพันธุ์มะม่วงด้วยวิธีการช่วยผสมเกสรที่มีต่อการติดผลมะม่วงลูกผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการผสมติดของมะม่วงในแต่ละคู่ผสมด้วยวิธีการช่วยผสมเกสร และศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตของประชากรมะม่วงลูกผสมจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการช่วยผสมเกสร พบว่ามีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การติดผลเท่ากับ 35.14 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การร่วงหล่นเท่ากับ 91.07 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จเท่ากับ 8.93 เปอร์เซ็นต์ จากงานวิจัยในครั้งนี้ได้ประชากรลูกผสม จำนวน 24 ลูกผสม จากจำนวนคู่ผสม 5 คู่ผสม คือ 1. Palmer x Mahachanok จำนวน 10 ลูกผสม 2. Keitt x Nam Dok Mai Sri Thong จำนวน 1 ลูกผสม 3. Kent x Mahachanok จำนวน 5 ลูกผสม 4. Kent x Nam Dok Mai Sri Thong จำนวน 5 ลูกผสม และ Yuwen x Nam Dok Mai Sri Thong จำนวน 3 ลูกผสม ทำการเก็บข้อมูลลูกผสมชั่วที่ 1 ในปีที่ 1 – 3 ทางด้านการเจริญเติบโตทางด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม และเส้นผ่านศูนย์กลางเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ดีในปีถัดไป

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2565, เมษายน). ‘กรมเจรจาฯ’ ปลื้ม มะม่วงไทยสุดปัง ส่งออกตลาด FTA 2 เดือนแรก พุ่ง 15% หนุนใช้สิทธิประโยชน์เพิ่มแต้มต่อทางการค้า. https://www.dtn.go.th/th/news/-2881-2-2-2-2-2-2?cate=5cff753c1ac9ee073b7bd1c5.

เกษม พวงจิก. (2537). อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงช่วงฤดูกาลที่มีต่อการถ่ายละอองเกสรและผลของสารเคมีต่อการติดผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ทะวาย วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ขวัญหทัย ทนงจิตร, กัลยาณี สุวิทวัส และพิมพ์นิภา เพ็งช่าง. (2561). การพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและMahachanok และคัดเลือกมะม่วงเพื่อบริโภคผลสด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(1), 371 – 373.

Mukherjee, S.K., P.K. Majumder and S.S. Chatterjee. (1961). An improved technique of mango hybridization. Indian J. Hort. 18: 302-304.

Pinto A.C.Q., Andrade S.R.M., Ramos V.H.V., Cordeiro M.C.R.Intervarietal. (1999). Hybridization in Mango (Mangifera indica L.): Techniques, Main Results and their Limitations. Acta Horticulturae. 645(38), 327-330.

Singh, R.N., Majumder, P.K. and Sharma, D.K. (1970). Present position regarding breeding of mango (Mangifera indica L.). in India. Euphytica. 17, 462–467.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-03

How to Cite

ทนงจิตร ข., เพ็งช่าง พ. ., เทียนหอม อ., สุวิทวัส ก., & ถาวรเจริญ ด. (2023). ประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์มะม่วงด้วยวิธีการช่วยผสมเกสรต่อการผสมติดของมะม่วงลูกผสม. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 1(1), 43–51. https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.165