การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา

ผู้แต่ง

  • สุธีรา ถาวรรัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จินตนาพร โครตสมบัติ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อรุโณทัย ซาววา สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • สมคิด ดำน้อย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  • อัญชลี ม่านทอง ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • อุดมพร เสือมาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร จังหวัดชุมพร
  • สุพินยา จันทร์มี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อาพร คงอิสโร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • บรรเจิด พูลศิลป์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพังงา จังหวัดพังงา
  • ภาวินี คามวุฒิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระนอง จังหวัดระนอง
  • หทัยกาญจน์ สิทธา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • นิภาภรณ์ ชูสีนวน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อัจฉรา ทองสวัสดิ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชุมพร จังหวัดชุมพร
  • สุภาพร ขุนเสถียร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เพ็ญติมาส กระมุท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อรสิริ ดำน้อย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ จังหวัดกระบี่
  • สังวาล จันทาสี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ จังหวัดกระบี่

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v2i2.170

คำสำคัญ:

สมุนไพร, ภูมิปัญญา, สารสำคัญ, พันธุกรรม

บทคัดย่อ

การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา ดำเนินการระหว่างปี 2563 - 2564 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจชนิด สรรพคุณทางยา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต ผู้ใช้ประโยชน์ และผู้ให้บริการ จำนวน 120 ราย และ 2. เพื่อตรวจสอบสารสำคัญ และลำดับนิวคลีโอไทด์เบื้องต้นของพืชสมุนไพรท้องถิ่นบางชนิด พบว่า พื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาสำหรับสุขภาพภายใน 40 ชนิด ภายนอก 1 ชนิด และทั้งภายในภายนอก 11 ชนิด พบสารสำคัญ 11 ชนิด คือ total triterpenoids (หนุมานประสานกาย), total flavonoids (ชาพระ), total phenolics (ว่านหอมแดง), andrographolide (ฟ้าทะลายโจร), total curcuminoid (ขมิ้นด้วง), β-sitosterol (กระบือเจ็ดตัว), myristicin (จันทน์เทศ), terpinene-4-ol (เปราะหอม), total glucan, β-glucan และ α-glucan (เห็ดแครง) พบว่าคู่เบสของลำดับนิวคลีโอไทด์พืชสมุนไพรสามารถตรวจสอบได้ด้วยไพรเมอร์ยีน ITS และ rpoC1 และมีขนาดเท่ากับ 500-700 และ 500 ตามลำดับ สำหรับข้อจำกัดของการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ 3 ลำดับต้น คือ วัตถุดิบหายาก (39.17%) ด้านความสะอาดและการปนเปื้อน (34.17%) และข้อมูลผลข้างเคียงกับร่างกาย (32.00%) ส่วนข้อเสนอแนะเสนอให้มีการศึกษาพร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางการแพทย์เพิ่มขึ้น สูงถึง 52.50% ตามด้วยเพิ่มช่องทางการตลาดและตลาดรับซื้อประจำ (40.83%) เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยนี้สามารถใช้สำหรับการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการใช้ประโยชน์ได้ เป็นข้อมูลทางเลือกสำหรับการรักษาสุขภาพและเพิ่มรายได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ได้ต่อไป

References

Cheng, T., C. Xu, L. Lei, C. Li, Y. Zhang and S. Zhou. (2016). Barcoding the kingdom Plantae: new PCR primers for ITS regions of plants with improved universality and specificity. Molecular Ecology Resources. 16(1), 138-149.

Hu, S.J., H.H. Yu, G. Han, L. Xia and C.S. Lin. (2019). DNA barcoding and rapid identification of the precious herb Herba Anoectochili. Chinese Journal of Natural Medicines. (10), 738-745.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ. : บจก. ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์.

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. (2557). สถานการณ์การผลิตและการตลาดพืชสมุนไพร. กรุงเทพฯ. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อรุโณทัย ซาววา สุภาวดี ง้อเหรียญ อัญชลี ศรีสุวรรณ ประพิศ วองเทียม และหทัยรัตน์ อุไรรงค์. (2552). การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์มันสำปะหลังในประเทศไทยโดยใช้เทคนิค SCAR (Sequence Characterized Amplified Region). ใน รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2551-2552. (น.96-118). สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ถาวรรัตน์ ส., โครตสมบัติ จ., ซาววา อ., ดำน้อย ส., ม่านทอง อ., เสือมาก อ., จันทร์มี ส., คงอิสโร อ. ., พูลศิลป์ บ., คามวุฒิ ภ., สิทธา ห., ชูสีนวน น., ทองสวัสดิ์ อ., ขุนเสถียร ส., กระมุท เ., ดำน้อย อ., & จันทาสี ส. (2024). การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 2(2). https://doi.org/10.55164/jtai.v2i2.170