ประสิทธิภาพของพรรณไม้น้ำสวยงามต่อการบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มกบ Efficiency of Various Ornamental Aquatic Plants for Frog Farming Effluent Treatment

ผู้แต่ง

  • อานุช คีรีรัฐนิคม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210
  • แสงมณี หวานเสนาะ
  • สุภฏา คีรีรัฐนิคม

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v2i1.176

คำสำคัญ:

การบำบัดน้ำเสีย, น้ำเสียฟาร์มกบ, พรรณไม้น้ำสวยงาม

บทคัดย่อ

ศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงกบด้วยพรรณไม้น้ำสวยงาม ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่าย คาบอมบา สันตะวาใบข้าว และสาหร่ายดาวกระจาย เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งนอกจากเป็นการบำบัดน้ำเสีย จากการ เลี้ยงสัตว์น้ำ แล้วยังเกิดการใช้ประโยชน์น้ำเสียเพื่อเพาะปลูกพรรณไม้น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ น้ำเสียเริ่มต้นมีปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท และออร์โธฟอสเฟต 23.06, 0.01, 11.76 และ 1.05 mg/L ตามลำดับ พบว่า สาหร่ายคาบอมบา ลดปริมาณแอมโมเนีย และไนเตรทได้ 100.00±0.00% และ 54.79±13.57% ในเวลา 6 วัน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ (p<0.05) ขณะที่สันตะวาใบข้าวลดปริมาณไนไตรท์ได้มากที่สุดในเวลา 6 วัน (26.95±5.01%) สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายคาบอมบา และสาหร่ายดาวกระจายมีประสิทธิภาพในการลดออร์โธฟอสเฟตใน เวลา 9 วัน โดยมีค่า 66.12±10.33%, 53.51±4.77% และ 42.05±6.16% ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ระยะเวลา 15 วัน พบว่า สันตะวาใบข้าวไม่สามารถเจริญได้ โดยที่มวลชีวภาพของสาหร่ายคาบอมบา และสาหร่ายดาวกระจาย ลดลง กว่ามวลชีวภาพ เริ่มต้น แต่สาหร่ายหางกระรอกมีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้น การทดลองสรุปว่าสาหร่ายคาบอมบา มีศักยภาพเป็นพรรณ ไม้น้ำสวยงามสำหรับบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงกบได้ในระยะเวลา 6-9 วัน แต่ในระยะเวลาที่นานกว่านี้ ทำให้พืชมีการเจริญลดลง

Author Biography

สุภฏา คีรีรัฐนิคม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210

References

กิตติมา วานิชกูล, สมิง จำปาศรี, จิราพร กุลคำ, พิรุณ จันทร์เทวี และยุพาวรรณ ประเสริฐโชค. (2558). ประสิทธิภาพ

ของสาหร่ายหางกระรอกในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ. วารสารวิชาการวิจัย มทร. พระนคร. 9, 11-18.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561, มกราคม). ระบบบำบัดน้ำเสีย. https://www.pcd.go.th/?s=waste+water

กรมควบคุมมลพิษ. (2563, มกราคม). มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด. https://www.

pcd.go.th/laws/4500

กรมประมง. (2562). คู่มือการวิเคราะห์น้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม. เชียงใหม่: หจก.

วนิดาการพิมพ์.

จริยาวดี สุริยพันธุ์, อนุกูล บูรณประทีปรัตน์, วิชญา กันบัว, โสภาวดี เมืองฮาม และ ปราณี นนท์ชนะ. (2563). ปัจจัยของ

ธาตุอาหาร และซัลไฟด์ต่อมวลชีวภาพและการแพร่กระจายของหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่ง อำเภอสัตหีบ

จังหวัดชลบุรี. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณีรัตน์ หวังวิบูลย์, สมศรี งามวงศ์ชน และนงนุช เลาหะวิสุทธิ์. (2553). การบำบัดน้ำในการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยใช้

พรรณไม้น้ำใต้น้ำ. วารสารการประมง. 63, 211-217.

วิภาดา วงค์เรือนแก้ว และโสมนัส สมประเสริฐ. (2559). ประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนของ ระบบบึงประดิษฐ์

แบบลอยน้ำในการบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงปลาดุก. วารสารวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมไทย. 30(3), 75-83.

เหล็กไหล จันทะบุตร, จุฑารัตน์ แก่นจันทร์, พุทธชาติ อิ่มใจ, บัณฑิดา สวัสดี, ชนวรรณ โทวรรณา, สำราญ พิมราช และ

วุธเมธี วรเสริม. (2564). อัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงกบนาในกระชังในช่วงฤดูหนาว. วารสารเกษตร

พระวรุณ. 18(1), 75-79.

สุรเสน ศรีริกานนท์. (2552). โรคกบนาจากฟาร์มเลี้ยงในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์.

(3), 102-117.

สุภาวดี โกยดุลย์. (2549). เอกสารประกอบการสอน คุณภาพน้ำทางการประมง ภาคทฤษฎี. พระนครศรีอยุธยา:

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุภาวดี โกยดุลย์. (2557). การกำจัดไนโตรเจนในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบไม่ทิ้งของเสียออกจากฟาร์ม. วารสารวิชาการ

มทร. สุวรรณภูมิ. 2, 66-80.

อรทัย ชวาลภาฤทธิ์. (2545). คู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสีย. กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

Handajani, H., Adhywirawan, G., Andriawan, S., Prasetyo, D. and Mavuso, B.R. (2021). Evaluation of efficiency

of Echinodorus palaefolius (J.F. Macbr.) involved in the Clarias gariepinus (Burchell, 1822) culture for

water quality recovery and fish growth support. Jordan Journal of Biological Sciences. 14(5), 959-964.

Kuchnicki, T.C. and Webter, G.R.B. (1986). A comparison of HPLC analysis of nitrate in soils with the

phenoldisulfonic acid and hydrazine sulfate methods. Can. J. Soil Sci. 66, 151-157.

Nakphet, S., Ritchie,R.J. and Kiriratnikom, S. (2017). Aquatic plants for bioremediation in red hybrid

tilapia recirculating aquaculture. Aquaculture International. 25, 619-633.

Nhan, N. T. T. and Tuong, L. Q. (2020). Potential of Echinodorus cordifolius and Vallisneria natans in

constructed wetlands for the removal of water pollution from shrimp farm effluent. Materials

Science and Engineering. 991, 012034.

Osti, J.A.A., Carmo, C.F., Cerqueira, M.A.S., Giamas, M.T.D., Peixoto, A.C., Vaz-dos-Santos, A.M. and

Mercante, C.T.J. (2020). Nitrogen and phosphorus removal from fish farming effluents using

artificial floating islands colonized by Eichhornia crassipes. Aquaculture Reports. 17, 100324.

Raharjo, S., Irmawati E.S.F. and Manaf, M. (2018). Constructed wetland with flow water surface type

for elimination of aquaculture wastewater from catfish (Clarias gariepinus, Var). Ecological

Engineering. 187, 012061.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

คีรีรัฐนิคม อ. ., หวานเสนาะ แ., & คีรีรัฐนิคม ส. . (2024). ประสิทธิภาพของพรรณไม้น้ำสวยงามต่อการบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มกบ Efficiency of Various Ornamental Aquatic Plants for Frog Farming Effluent Treatment. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 2(1), 1–9. https://doi.org/10.55164/jtai.v2i1.176