ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม ในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • รัชนี ศิริยาน ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • สมพงษ์ สุขเขตต์ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • ธวชัชัย นิ่มกิ่งรรัตน์ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  • ศจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ตำบลศิลา อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v2i2.179

คำสำคัญ:

ความหลากหลายมะม่วง,, ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ,, การวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม 24 พันธุ์/สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 50 ไพรเมอร์ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ 48 ไพรเมอร์ พบแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่าง 185 แถบ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาค่า similarity coefficient แล้วสร้างเดนโดรแกรมด้วยโปรแกรม NTSYS pc 2.1 เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และศึกษาโครงสร้างภายในของลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ ด้วยโปรแกรม Structure v.2.3 สามารถจัดกลุ่มมะม่วงเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย น้ำดอกไม้ ศก.0072 ออสเตรเลีย น้ำดอกไม้สีทอง และออนซอน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย Aroomanis ศก.0083 อกร่องตาเปรื่อง น้ำดอกไม้ตาเลี๊ยบ ศก.0080 ศก.0005A ศก.0005B ศก.0082 ศก.0095 และ Sensation กลุ่มที่ 3 คือ India เล็ก และ Keitte กลุ่มที่ 4 คือ Salam กลม Kensington และ R2E2 กลุ่มที่ 5 คือ Kent และ Lippen กลุ่มที่ 6 และ กลุ่มที่ 7 มีเพียงพันธุ์เดียว คือ Salam ยาว และ India ใหญ่ ตามลำดับ โดยพบว่า มะม่วงลูกผสมเป็นลูกผสมในกลุ่มน้ำดอกไม้ทั้งหมด                                              

References

Begun, H., Reddy, M.T., Malathi, S., Reddy, B.P., Arcahk, S., Nagaraju, J. and Siddiq, E.A. 2012. Molecular analysis for genetic distinctiveness and relationships of indigenous landraces with popular cultivars of mango (Mangifera indica L.) in Andhra Pradesh, India. The Asian and Australian Journal of Plant Science and Biotechnology 6 (1): 24-37.

Begum, H., Reddy, M.T., Malathi, S., Reddy, B.P., Narshimulu,G., Nagaraju, J. and Siddiq, E.A. 2013. Microsatellite analysis of intracultivar diversity in ‘Chinnarasam’ mango from Andhra Pradesh, India. African Crop Science Journal. 21(2): 109-117.

Fulton, T.M., Chunwongse, J. and Tanksley, S.D. 1995. Microprep protocol for extraction of DNA from tomato and other herbaceous plants. Plant Molecular Biology Reporter. 13(3): 207-209.

Kumar, M., V. Ponnuswami, P. Nagarajan, P. Jeyakumar and N. Senthi. 2013. Molecular characterization of ten mango cultivars using simple sequences repeat (SSR) markers. African Journal of Biotechnology. 12(47): 6568-6573.

Williams, J.G.K., A.Kubbelik, K.J. Livak, J.A. Rafiski and S.V. Tinjey. 1990. DNA polymorphisms amplified by arbitrary primers are useful as genetic markers. Nucleic Acids Research. 18: 6531-6535.

สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ. 2546. ฐานข้อมูลเชื้อพันธุ์พืช: มะม่วง เล่ม 2. กรมวิชาการเกษตร, จตุจักร, กรุงเทพ. หทัยภัทร วงษ์ไทวรรณ. 2563. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะม่วง. เคหการเกษตร 45: 191-193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ศิริยาน ร., สุขเขตต์ ส., นิ่มกิ่งรรัตน์ ธ., & สงวนรังศิริกุล ศ. (2024). ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม ในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 2(2). https://doi.org/10.55164/jtai.v2i2.179