การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita โดยสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา Trichoderma spp.
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v2i1.188คำสำคัญ:
การควบคุมโดยชีววิธี, เชื้อรา Trichoderma spp., ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita)บทคัดย่อ
โรครากปมจัดเป็นสาเหตุโรคที่สำคัญต่อการผลิตพืชอย่างมาก เนื่องจากไส้เดือนฝอยดังกล่าวมีพืชอาศัยที่กว้างและเพิ่ม ปริมาณได้อย่างรวดเร็วทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก การใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ที่แยกได้ จากธรรมชาติ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมโรครากปมเพราะเชื้อรานี้สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา Trichoderma spp. ต่อการเข้าทำลายไส้เดือนฝอยรากปม
(Meloidogyne sp.) ในระดับห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างดินจากแหล่งปลูกนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 50 ไอโซเลท การทดสอบ พบว่ามีเชื้อรา Trichoderma spp. จำนวน 9 ไอโซเลท ได้แก่ Sp1, Sp4, Sp6.3/2, Ay10.1, DR 3.1/1, DR3.2, KU1.1/1, KU1.1/2 และ SPB04 ที่มีประสิทธิภาพในการ เข้าทำลายตัวอ่อนระยะที่ 2 และไข่ของไส้เดือนฝอยรากปมได้ เมื่อศึกษากลไกการเข้าทำลายพบว่า เชื้อราสามารถสร้างเส้นใย พัดรัดตัวอ่อนระยะที่ 2 และสร้างเส้นใยเจริญคลุมทับกลุ่มไข่ของไส้เดือนฝอยได้ สำหรับการทดสอบในเรือนทดลอง
พบว่าเชื้อราทั้ง 9 ไอโซเลท สามารถลดการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย ในรากข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม
References
จิระเดช แจ่มสว่าง. (2549). การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. นครปฐม. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน
น้ำค้าง สวัสดิ์ประดิษฐ์. (2557). การใช้ไคโตซานจากเชื้อรา Mucor rouxii เพื่อยับยั้งเชื้อราก่อโรคในลำไย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
พราวมาส เจริญรักษ์. 2559. ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma asperellum ในการลดโรคเมล็ดด่าง
ส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตของข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นครปฐม.
มะลิฉัตร พันธุมัย. (2556). การลดความรุนแรงของโรครากปมในแตงกวาเมื่อปลูกเชื้อรา Trichoderma spp. ที่รากหรือใบ.
แก่นเกษตร, 41(1), 538-542.
อมรศรี ขุนอินทร์. (2548). อิทธิพลของเห็ดบางชนิดที่มีผลต่อไส้เดือนฝอยรากปม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท. บัณฑิต-วิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมรศรี ขุนอินทร์. (2563). การศึกษาประชากรไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวและระดับรุนแรงของของโรคในพื้นที่ปลูกข้าว
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. แก่นเกษตร, 48(6), 1374-1383.
อรพินท์ ทองอร่าม.(2556). การแสดงออกของลักษณะทางกายภาพและความแปรปรวนของฝรั่งพันธุ์ทนทาน ‘‘KKUU-GGUU
AARRDD N Noo.1.1’’ ต่อไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทบัณฑิตวิยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อังคณา โรจน์ประจักษ์และอมรศรี ขุนอินทร์. 2564. ศักยภาพของสปอร์แขวนลอยเชื้อรา Trichoderma spp. ในการควบคุม
การฟักและการพัฒนาของ กลุ่มไข่ไส้เดือนฝอยสาเหตุรากปม (Meloidogyne incognita ในมะเขือเทศ. วารสาร
เกษตร พระจอมเกล้า. 39(3): 198-205.
Ahmad Saad Al-Hazmi, & Muhammad Tariq Javeed. (2015). Effects of different inoculum densities
of Trichoderma harzianum and Trichoderma viride against Meloidogyne javanica on
tomato. Saudi Journal of Biological Sciences, 1319-1562.
Aness, M., Tronsmo, A., Edel-Hermann, V., Hjeljord, L.G., Heraud, C. and Steinberg, C. 2010. Characterization
of field isolates of Trichoderma antagonistic against Rhizoctonia solani. Fungal Biology
(9): 691-701.
Bigirimana, J., De Meyer, G., Poppe, J., Elad, Y. and Höfte, M. 1997. Induction of systemic resistance
on bean (Phaseolus vulgaris) by Trichoderma harziamum. Ghent University; Mededelingen
van de Faculteit Landbouwwetenschappen 62: 1001–1007.
Caillaud, M. C., G. Dubreuil. M. Quentin, L.Perfus-Barbeoch, P. Lecomte, J. D. A. Engler, P. Abad,
M.N.Rosso and B.Favery. 2008. Root-Knot nematodes manipulate plant cell functions during a compatible
interaction. Journal of plant Physiology.165: 104-113.
Eisenback, J. D., H. Hirschmann, J. N. Sasser and A. C. Triantaphyllou. 1981. A guide to the four most
common species of root-knot nematodes (Meloidogyne spp.), with a pictorial key. North
Carolina State University, Releigh, North Carolina. 48 p.
Khun-in, A., S .Sukhakul, C.Chamswarng, P.Tangkijchote and A. Sasnarukkit. 2015. Culture filtrate of
Pleurotus ostreatus isolate Poa3 effect on egg mass hatching and juvenile of Meloidogyne
incognita and its potential for biological control. Journal of the International Society for
Southeast Asian Agricultural Sciences.21(1): 46-54.
Ravichandra, N. G. 2010. Methods and techniques in plant nematology. Delhi, India: PHI Learning Pvt.
Ltd. Sahebani, N., and Hadavi, N. 2008. Biological control of the root-knot nematode
Meloidogyne javanica by Trichoderma harzianum. Soil Biology and Biochemistry 40(8):
-2020.
Suarez, B., Rey, M., Castillo, P., Monte, E., and Llobell, A. 2004. Isolation and characterization of PRA1,
a trypsin -like protease from the biocontrol agent Trichoderma harzianum CECT 2413
displaying nematicidal activity. Applied Microbiology and Biotechnology 65(1): 46-55.
Sun, M. H., L. Gao, Y. X. Shi, B. J. Li and X. Z. Liu. 2006. Fungi and actinomycetes associated with
Meloidogyne spp. eggs and females in China and their biocontrol potential. Journal of
Invertebrate Pathology 93: 22-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.