ผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้าน ลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v2i2.848คำสำคัญ:
กัญชาสายพันธุ์หางกระรอก, วัสดุปลูก, การจัดการปุ๋ย, การเจริญเติบโตบทคัดย่อ
กัญชาสายพันธุ์หางกระรอกเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่สำคัญทางเศรษฐกิจในการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคต การเลือกใช้วัสดุปลูกในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีการผลิตกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกให้มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง การทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก ดำเนินงานทดลอง ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2565 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ทรีตเมนต์ละ 4 ซ้ำ โดยใช้วัสดุปลูกประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 ร่วมกับการจัดการปุ๋ยจำนวน 4 ทรีตเมนต์ คือ ทรีตเมนต์ที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ย (Control) ทรีตเมนต์ที่ 2 ใส่มูลวัว อัตรา 3,000 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 25 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย (CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 25 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 4 ใส่มูลวัว อัตรา 1,500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 12.50 กก./ไร่ และปุ๋ยยูเรีย (CM+CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 12.50 กก./ไร่ ผลการศึกษาพบว่าในสัปดาห์ที่ 8 ทรีตเมนต์ที่ 1 มีการเจริญเติบโตสูงสุดทั้งความสูงต้น 265.75 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.14 เซนติเมตร จำนวนข้อ 41.50 ข้อ สูงกว่าทุกทรีตเมนต์และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อขนาดทรงพุ่ม 2.26 ตารางเมตร น้ำหนักสดรวม 1,027.28 กรัมต่อต้น และน้ำหนักแห้งรวม 447.47 กรัมต่อต้น สูงกว่าทุกทรีตเมนต์แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่พบว่าทรีตเมนต์ที่ 3 ส่งผลต่อพื้นที่ใบสูงสุด 121.13 ตารางเซนติเมตร สูงกว่าทุกทรีตเมนต์ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นการปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกโดยใช้วัสดุปลูกที่ประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 และไม่มีการใส่ปุ๋ยตลอดอายุการเก็บเกี่ยวสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกที่มีคุณภาพสูงสุด มีความคุ้มค่า และปลอดภัยจากสารพิษตกค้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
Dong, H. Z, Niu, Y., Li, W., & Zhang, D. (2008). Effects of cotton root stock on endogenous cytokinins and abscisic acid in xylem sap and leaves in relation to leaf senescence. J. Exp. Bot. 59, 1295-1304. http://doi: 10.1093/jxb/ern035.
Calile, W.R. (2008). The use of composted materials in growing media. Acta Horticulturae. 779, 857-864.
Chumthong, A & Pakdeechanuan, P. (2019). Effects of bioextract accelerates the decomposition of rice straw on growth of rice variety Ruang Ree. Songklanakarin Journal of Plant Science. 6(1), 82-90.
Comfort, S.D, Malzer, G.L., & Busch, R. (1988). Nitrogen fertilization of spring wheat genotypes : influence on root growth and soil water depletion. Agron. J. 80, 114-120.
Khasa, DP., Fung, M. & Logan, N.B. (2005). Early growth response of container frown selected wood boreal seedling in amended
composite talling and sand. Bioresource Technology. 96(7), 857-864.
Nonthakit, I. (2012). Planting in Medias. Bankok. Department of Soil Science. Faculty of Agricultural Technology. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.
Ramkhamheang University. (2001). บทที่ 5 ระบบราก. http://old-book.ru.ac.th/e-book/a/AT459/at459-5.pdf.
Sooksawat, M. (2004). Agricultural Handbook: Flower and Ornamental Medias. House and garden, 11-12.
Supinrach, S. & Supinrach, I. (2018). Effect of substrate media on growth performance of leaf lettuce. Agricultural Sciecne Journal. 49(Suppl.), 47-52.
Wang, Y., Mi, G.H., Chen, F.J., Zhang, J.H. & Zhang, F.S. (2005). Response of root morphology to nitrate supply and its contribution to nitrogen accumulation in Maize. J Plant nutr. 27, 2189-2202. http://doi: 10.1081/pln-200034683.
Zhou, G. S., Yan, L., Chen, T., An, L. L., & Gui, J. L. (2011). Effects of nitrogen application amount on growth characteristics, boll development and lint yield of high quality cotton. Agr. Sci. Tec. 12, 1667-1670.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551, มิถุนายน). ระบบออนไลน์วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 http://www2.doae.go.th/www/work/web/kannika/page1.htm.
กษิดิ์เดช อ่อนศรี, กัญตนา หลอดทองหลาง, เกศินี ศรีปฐมกุล และ อรพรร หัสรังค์. (2565). การศึกษาปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตทางลำต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบกัญชา (Cannabis sativa L.). วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 1(2), 93-102.
ขจรยศ ศิรินิล. (2562). การพัฒนาสูตรดินผสมเพื่อการปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คสำหรับคนเมือง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเกษตร อินทรีย์) สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรียาภรณ์ แนมใส. (2546). อิทธิพลของวัสดุเพาะต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าผัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พรชัย สินเจริญโภไคย, ตีญานี สาหัด, พราว ศุภจริยาวัตร, ศรายุธ ระดาพงษ์, เสกรชตกร บัวเบา, พิเชฐ บัญญัติ, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ และ
ณฐภัทร หาญกิจ. (2564). การศึกษาฤทธิ์สมานแผลของสารสกัดช่อดอกกัญชาเพศเมียพันธุ์ไทยต่อเซลล์ปอดเพาะเลี้ยง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 63(3), 467-477.
พืชเกษตร.คอม. (2560, เมษายน) แกลบ/แกลบดำ/ขี้เถ้าแกลบ วิธีทำแกลบดำ และประโยชน์แกลบดำ https://puechkaset.com/.
ยงยุทธ โอสถสภา. (2552). ธาตุอาหารพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สรสิทธิ์ วัชโรทยาน. (2564, กุมภาพันธ์). ปุ๋ยเคมี ทำให้ดินเสีย...ดินเป็นกรด จริงหรือไม่?!. https://www.technologychaoban.com/
สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม, ศรัณณัฎฐ์ แสนเสนาะ, ประเสริฐ สุขเจริญ และฉัตรชัย สวัสติไชย. (2562). กัญชา (Cannabis) วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 36(4), 356-362.
สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561) ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคใต้และชายฝั่งตะวันออกชุดดินบางนารา. http://oss101.ldd.go.th/soilr/main.html.
หนึ่ง เตียอำรุง, นันทกร บุญเกิด และพรรลดา ติตตะบุตร. (2564). รายงานการวิจัยการผลิตและการใช้ประโยชน์จาก กัญชา (Marijuana). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.