การจัดการผลิตพืชเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนนวัตกรรมวิชาการเกษตรจังหวัดสตูล
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.969คำสำคัญ:
การผลิตพืช, ความมั่นคงด้านอาหาร, จังหวัดสตูลบทคัดย่อ
โครงการ “การจัดการผลิตพืชเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนนวัตกรรมวิชาการเกษตรจังหวัดสตูล”ดำเนินการทดลองที่ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้ทำการศึกษา การทดลองที่ 1 พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และการเข้าถึงอาหารจังหวัดสตูล ได้แก่ จำปาดะประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบของกรมวิชาการเกษตร และกรรมวิธีของเกษตรกร ปริมาณผลผลิตจำปาดะ เฉลี่ย 4,451 และ 3,406 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 31,458 และ 29,511 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 121,255 และ 91,454 บาท/ไร่ การทดลองที่ 2 : พัฒนาต้นแบบการผลิตพืชผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความเพียงพอและความหลากหลายทางอาหารจังหวัดสตูล ผลการสำรวจ 9 พืชผสมผสานก่อนและหลังการดำเนินงานบริเวณรอบบ้านของเกษตรกร มีการปลูกเพิ่มขึ้นจาก 100 ชนิด เพิ่มเป็น 120 ชนิด ซึ่งเพิ่มขึ้น 20 ชนิด การทดลองที่ 3 พัฒนาต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ผลิตทั้งหมด 3 รอบ/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 2,370 กิโลกรัม รายได้เฉลี่ย 87,471 บาท/ไร่ การทดลองที่ 4 พัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชที่ยืดหยุ่นจากการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และเสถียรภาพทางอาหารจังหวัดสตูล (Food Stability) ผลผลิต เฉลี่ย 233 กก./ไร่/ปี และ 136 กก./ไร่/ปี รายได้สุทธิ 12,278 บาท/ไร่ และ 3,552 บาท/ไร่ การทดลองที่ 5 พัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมความมั่นคงทางอาหารในชุมชนแบบมีส่วนร่วมจังหวัดสตูล (food security Innovation Platform) จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัย จัดเวทีวิจัยสัญจรเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเกษตรกร นักวิจัย สรุปผลการประเมินผลการจัดเวทีวิจัยสัญจรในทุกกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้รับ เกษตรกรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ระดับคะแนนอยู่ที่ 4.60 และจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี กิจกรรมเวทีวิจัยสัญจรชุมชน “การจัดการผลิตพืชเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนนวัตกรรมวิชาการเกษตร ปี 2566”
References
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. (2551, พฤษภาคม). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. https://www.foodsafety.moph.go.th/document/Info_general/food_management.pdf.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสตูล. (2566, มกราคม) ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดสนับสนุนการตรวจราชการ ครม.สัญจร เดือนธันวาคม 2565. https://www.opsmoac.go.th/satun-dwl-preview-451891791945
สำนักงานจังหวัดสตูล. (2563, มกราคม). แผนพัฒนาจังหวัดสตูล 5 ปี (2561-2565). http://www.satun.go.th/news/detail/200
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562, สิงหาคม) ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญารัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 5 . https://resolution.soc.go.th/?prep_id=99333112
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560, สิงหาคม). ไทยพร้อมศักยภาพ ครัวของโลก เจาะดัชนีความมั่นคงอาหารไทยยืนแท่นอันดับ 3 ในอาเซียน. https://www.ryt9.com/s/prg/2699923
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยทักษิณ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.