ผลของระยะปลูกต่อผลผลิตของฟ้าทะลายโจรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

ผู้แต่ง

  • พุฒตาล สังขชาติ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร 10900

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.987

คำสำคัญ:

ฟ้าทะลายโจร, ระยะปลูก, ผลผลิต, แลคโตนรวม

บทคัดย่อ

ฟ้าทะลายโจรยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในคนและในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในการผลิตยังขาดข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคใต้ตอนบนที่พบต้นฟ้าทะลายโจรขึ้นอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ฟ้าทะลายโจรท้องถิ่นสายพันธุ์พื้นเมือง 5 สายพันธุ์ ทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566 ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบ split plot มี จำนวน 3 ซ้ำ main plot คือ ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์พื้นเมือง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ นครศรีธรรมราช-1, กระบี่-1, สุราษฎร์ธานี-1, พังงา-1 และ พังงา-2  ส่วน sub plot ได้แก่ ระยะปลูกที่แตกต่างกัน 5 ระยะปลูก คือ 20x20, 30x30, 40x40, 50x50 และ 60x60 เซนติเมตร ผลการทดลอง พบว่า ฟ้าทะลายโจร 5 สายพันธุ์ ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งแตกต่างกันทางสถิติ โดย สายพันธุ์นครศรีธรรมราช-1,  สุราษฎร์ธานี-1 และ พังงา-1 ผลผลิตสดและแห้งสูงสุด 3 อันดับแรก นอกจากนี้การปลูกฟ้าทะลายโจรที่ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร ฟ้าทะลายโจรให้ผลผลิตสดและแห้งต่อไร่สูงที่สุด โดยพบว่าสายพันธุ์นครศรีธรรมราช-1 ที่ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดสูงสุด 3,800 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา สุราษฎร์ธานี-1 ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร และ พังงา-1 ระยะปลูก 60 x 60 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสด 3,000 และ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในส่วนของน้ำหนักแห้ง พบว่า สายพันธุ์นครศรีธรรมราช-1 ที่ระยะปลูก 20 x 20 เซนติเมตร ให้น้ำหนักแห้งสูงสุด 540 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา สุราษฎร์ธานี-1 ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร และ พังงา-1 ระยะปลูก 40 x 40 เซนติเมตร ให้น้ำหนักแห้ง 422 และ 341 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ  และจากการวิเคราะห์หาปริมาณแลคโตนรวม พบว่า ฟ้าทะลายโจร 5 สายพันธุ์ ให้ปริมาณแลคโตนรวมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ทดสอบ 3 ลำดับแรกที่ให้ปริมาณแลคโตนรวมสูงสุด คือ พังงา-1, สุราษฎร์ธานี-1 และ กระบี่-1 ให้ปริมาณแลคโตนรวมเฉลี่ย 19.41, 19.08 และ 18.99 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ตามลำดับ

References

Kumar, S., and Kumar, A. (2013). Spatial and harvesting influence on growth, yield, quality and economic potential of Kalmegh (Andrographis paniculate Wall Ex. Nees). Journal of Agriculture and Rural Development in the Tropical an Subtropical. 114(1), 69-76.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563, เมษายน). สธ เผยผลวิจัย ฟ้าทะลายโจร ฆ่า โควิด 19 ได้ แนะให้กินทันทีที่เริ่มมีไข้. https://covid-19.kapook.com/view224558.html.

จรัญ ดิษฐไชยวงศ์, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ, ดิเรก ตนพะยอม, มัลลิกา แสงเพชร, สัจจะ ประสงค์ทรัพย์, จิดาภา สุภาผล, แสงมณี ชิงดวง, ไกรศร ตาวงศ์, สมพร วนะสิทธิ์, เตือนใจ พุดชัง, พุฒนา รุ่งระวี, วาสนา โตเลี้ยง และสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ. (2553). วิจัยและพัฒนาการผลิตฟ้าทะลายโจรเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 กรมวิชาการเกษตร. 64–67.

ดารารัตน์ รัตนรักษ์, รุจิรา เข็มเพชร, อุษณีย์ พูลวิวัฒนกูล, สิรีธร นิมิตวิไล, อรอนงค์ เหล่าตระกูล, และปิยะวรรณ ศรีมณี. (2564). ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจรต่อการร่วมรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 40(2), 269-282.

พชริดา แข่งขัน และยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา. (2552). อิทธิพลของวันปลูกและระยะปลูก ต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 40(1), 177-180.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล, ธวัชชัย อุบลเกิด, นิตยา ผกามาศ และ สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร. (2552). ผลของระยะปลูกต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตตะไคร้พื้นเมือง 2 ชนิด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า.27(1), 5-6.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล, โสมนันทน์ ลิพันธ์, สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร และ หัตถ์ชัย กสิโอฬาร. (2560). ผลของระยะปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตฟ้าทะลายโจร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(2), 49-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-15

How to Cite

สังขชาติ พ. (2025). ผลของระยะปลูกต่อผลผลิตของฟ้าทะลายโจรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 3(1), 15–24. https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.987