วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผักพื้นบ้านกินยอดที่มีศักยภาพ ทางการค้าในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.992คำสำคัญ:
ผักพื้นบ้าน, ผักกินยอด, การจัดทรงพุ่ม, ระยะปลูกบทคัดย่อ
การศึกษาระยะปลูกและการจัดการทรงพุ่มของผักพื้นบ้านกินยอด จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ มะม่วงหิมพานต์และมันปู มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยอดอ่อนมะม่วงหิมพานต์และมันปูให้เป็นพืชทางเลือกที่มีศักยภาพทางการค้า ดำเนินการทดลองระหว่างปี 2565-2566 ณ แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Completely Block Design, RCRD) จำนวน 6 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ระยะปลูก 1 ระยะปลูก 1 x 1 เมตร และไม่จัดทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 2 ระยะปลูก 1 x 1 เมตร และจัดทรงต้นแบบตัดยอดกลาง (open leader) กรรมวิธีที่ 3 ระยะปลูก 1 x 1 เมตร และจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง (modified leader) กรรมวิธีที่ 4 ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร และไม่จัดทรงพุ่ม กรรมวิธี ที่ 5 ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร และจัดทรงต้นแบบตัดยอดกลาง (open leader) และกรรมวิธีที่ 6 ระยะปลูก 1.5 x 1.5 เมตร และจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง (modified leader พบว่า กรรมวิธีที่ 2 การผลิตยอดอ่อนมะม่วงหิมพานต์โดยใช้ระยะปลูก 1.5 X 1.5 เมตร ร่วมกับการจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 41.55 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ส่วนการให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ระยะปลูก 1 x 1 เมตร ร่วมกับจัดทรงต้นแบบตัดยอดกลาง ให้ความคุ้มทุนสูงสุด ให้ผลิตยอดอ่อนมะม่วงหิมพานต์ 1,578 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รายได้ 98,616 บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนการผลิต 28,000 บาทต่อไร่ต่อปี รายได้สุทธิ 70,616 บาทต่อไร่ต่อปี และ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) เท่ากับ 3.7 ดังนั้น การผลิตยอดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้ระยะปลูก 1 x 1 เมตร ร่วมกับจัดทรงต้นแบบตัดยอดกลาง ให้ผลผลิต รายได้สุทธิ และมีความคุ้มทุนและประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนการผลิตยอดมันปู พบว่า กรรมวิธีที่ 3 การใช้ระยะปลูก 1.5 X 1.5 เมตร ร่วมกับการจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอด กลาง ให้ผลผลิตยอดอ่อนของมันปูได้สูงที่สุดเท่ากับ 98.06 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ส่วนการให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ระยะปลูก 1 x 1 เมตร ร่วมกับจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง ให้ผลผลิตยอดอ่อนมันปู 3,850 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี รายได้ 192,521 บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนการผลิต 28,000 บาทต่อไร่ต่อปี รายได้สุทธิ 164,521 บาทต่อไร่ต่อปี และ BCR เท่ากับ 6 ดังนั้นการผลิตยอดมันปูโดยใช้ระยะปลูก 1 x 1 เมตร ร่วมกับจัดทรงต้นดัดแปลงจากแบบเลี้ยงยอดกลาง ให้ผลผลิต รายได้สุทธิ และมีความคุ้มทุนและประสิทธิภาพสูงสุด
References
รวินิภา ศรีมูล และศิริจันทร์ ตาใจ. (2557). ปริมาณฟีนอลรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำผลไม้แปรรูปในจังหวัดจันทบุรี.วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 7(1), 24-30.
Kaur, C. and H.C. Kapoor. (2002). Anti-oxidant activity and total phenolic content of some Asian vegetables. Int. J. Food Sci. Tech. 37, 153-161.
Pandey, K.B. and S.I. Rizvi. (2009). Plant polyphenols as dietary antioxidants in human health and disease. Oxid. Med. Cell. Longev. 2(5), 270-278.
Sánchez-Meta, M.C., R.D. Cabrera Loera, P. Morales, V. Fernández-Ruiz, M. Cámara, C. Díez Marqués, M. Pardo-de-Santayana and J. Tardío. (2012). Wild vegetables of the Mediterranean area as valuable sources of bioactive compounds. Genet. Resour. Crop Evol. 59, 431-443.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยทักษิณ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.