ผลของการปรับสภาพผนังผลชั้นในของมะม่วงน้ำดอกไม้สำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์

Main Article Content

รักษิณา ปุริธัมเม
วินัย ตาระเวช
วิจิตร สนหอม
เกรียงศักดิ์ สิงห์แก้ว
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับสภาพผนังผลชั้นในของมะม่วงน้ำดอกไม้ที่เหมาะสม และทดสอบสมบัติทางเคมี ทางกายภาพของผนังผลชั้นในของมะม่วงน้ำดอกไม้สำหรับใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ระยะเวลาในการแช่สารละลายกลีเซอรีนในอัตราส่วนกลีเซอรีน 1 ส่วน ต่อน้ำสะอาด 3 ส่วน แปรเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย 2, 4 และ 6 วัน ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) จะได้ทั้งหมด 3 สิ่งทดลอง ผลการศึกษาพบว่า การแช่ผนังผลชั้นในของมะม่วงน้ำดอกไม้ในสารละลายกลีเซอรีนระยะเวลา 4 วัน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำผนังผลชั้นในมะม่วงน้ำดอกไม้ไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ ซึ่งมีค่าร้อยละความชื้นเท่ากับ 8.02 + 0.02 ค่าความแข็งเท่ากับ 79.90 ± 0.78 นิวตัน และค่าความหนาเท่ากับ 1.45 ± 0.03 มิลลิเมตร โดยลักษณะของผนังผลชั้นในมะม่วงน้ำดอกไม้ดังกล่าวมีลักษณะเรียบและมีความแข็งแรง โดยความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับขึ้นรูปผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์         ในรูปแบบต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม

Article Details

How to Cite
ปุริธัมเม ร., ตาระเวช ว., สนหอม ว., สิงห์แก้ว เ. ., & วิศาลศักดิ์กุล โ. (2025). ผลของการปรับสภาพผนังผลชั้นในของมะม่วงน้ำดอกไม้สำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 4(1), 14–24. https://doi.org/10.60101/jhet.2025.1052
บท
บทความวิจัย

References

ธนวรรณ ทาวนอก. (2565). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟจากเศษไม้เหลือใช้ จังหวัดเพชรบูรณ์.วารสารการบริหารนิตบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(9), 191-193.

ธำรงเจต พัฒมุข. (2563). เอกสารคำสอน ชุดวิชา 93467 การจัดการการผลิตไม้ผลเชิงธุรกิจ. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

บริษัท ควอลิตี้ พลัส อินเตอร์เทค จำกัด. (2567). เมล็ดมะม่วงกับเครื่องสำอาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.qualityplus.co.th/quality-plus-deep-technology/.

พรเทพ ศรีธนาธร. (2567). สถานการณ์มะม่วงไทยและแนวโน้มความนิยมในสหภาพยุโรป สหภาพยุโรป. วารสารสำนักที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป, 27(1), 2-3.

ศุภมาศ กลิ่นขจร. (2564). วิจัยและพัฒนาการขยายผลผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเชิงพาณิชย์. รายงานแผนงานวิจัยย่อย. กรมวิชาการเกษตร.

สุภาวรรณ วงค์คําจันทร์. (2556). การจัดจําแนกมะม่วง. มะม่วงการผลิตและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) น. 3-14.

FAOSTAD. (2015). F. and A. organization of the United Nations. FAO. Retrieved from http://faostat.fao.org/site/339/default.aspx.

Gunstone, F.D. (2006). Minorspecialtyoils. pp.91-126. In. Nutraceutical and Specialty Lipids and Their Co-Products. CRC Taylor & Francis Group, Florida, USA.

Jahurul, M., Zaidul, I., Ghafoor, K., Al-Juhaimi, F., Nyam, K., Norulaini, N., et al. (2015). Mango (Mangifera indica L.) by-products and their valuable components: A review. Food Chemistry, 183, 173-180.

Lee, K., et al. (2020). Effect of glycerol treatment on cellulose structure in fruits. Food Processing Technology, 15(2), 102-110.

Palaniswamy, K.P., Muthukrishna, C.R., and Shanmugavelu, K.G. (1974). Physicochemical characteristics of some varieties of mango. Indian Food Packer, 28(5): 12-18.

Rodriguez, M., et al. (2019). Structural changes in plant cells under osmotic dehydration. Journal of Agricultural Research, 18(6), 890-897.

Smith, J., et al. (2018). Hygroscopic properties of glycerol in plant tissue. Journal of Food Science, 23(4), 567-574.

Tharanathan, R., Yashoda, H., & Prabha, T. (2006). Mango (Mangifera indica L.), “The King of Fruits” An overview. Food Reviews International, 22(2), 95-123.