การออกแบบและตัดเย็บชุดโอกาสพิเศษด้วยเทคนิคตัดต่อผ้าจากผ้าจวนตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและตัดเย็บชุดโอกาสพิเศษด้วยเทคนิคตัดต่อผ้าจากผ้าจวนตานี และสำรวจความพึงพอใจต่อชุดโอกาสพิเศษด้วยเทคนิคตัดต่อผ้าจากผ้าจวนตานี จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะผู้ที่ชื่นชอบผ้าจวนตานี จำนวน 50 คน อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยด้านการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าชุดโอกาสด้วยเทคนิคตัดต่อผ้าจากผ้าจวนตานี ซึ่งได้เป็นชุดต้นแบบ 5 ชุด ด้านผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 18-23 ปี ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อชุดโอกาสพิเศษด้วยเทคนิคตัดต่อผ้าจากผ้าจวนตานี ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมและความสมดุล มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 4.02 ด้านประโยชน์ใช้สอย ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 3.90 ด้านความสวยงามและความเหมาะสม ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4.07 ทั้ง 3 ด้านมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กัญญุมา ญาณวิโรจน์. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ด้วยเทคนิคการตัดต่อและการเย็บปะติด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 6(1), 131-138.
จิตตมาศ จิระสถิตย์พร, และวัชระ สินธุประมา. (2561). จักรเย็บผ้า:การตัดเย็บสมัยใหม่ในการศึกษาของผู้หญิงไทย. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 69-78.
จุรีรัตน์ บัวแก้ว. (2552). ผ้าลีมา ผ้าจวนตานี ของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 1(1), 1-20.
จุรีรัตน์ บัวแก้ว. (2558). ผืนผ้าโบราณของจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 15 (1), 1.
ชิสา สุวรรณนาวิน. (2564). การศึกษาแนวโน้มแฟชั่นเพื่อออกแบบคอลเล็คชั่นเสื้อผ้า. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์, 8(1), 252-273.
ปิยรัตน์ เพชรหนู. (2559). การฟื้นฟูผ้าจวนตานี ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2556). แขกมุสลิมในความเป็นไทย. RUSAMILAE JOURNAL, 34 (1), 75-82.
สุนิษา อัศวินรุ่งโรจน์. (2555). บทกวีแห่งฤดูกาล:การสร้างสรรค์ศิลปกรรมผ้าเพื่อตกแต่งภายในโรงแรมลักซ์เอ็กซ์แอลหลังสวน ศศ.ม.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2553). ความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นปัตตานี:ความทรงจำที่ถูกละทิ้ง. วารสารรูสมิแล มหาวิทยาลัยสยาม, 31(3), 23-34.
อ้อยทิพย์ ผู้พัฒน์ และมาลา ฤทธิ์นิ่ม. (2555). ศิลปะงานตัดต่อผ้าและการปักตกแต่งลวดลายสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า คศ.บ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.