การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยในรูปแบบใหม่ เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วยและเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย การศึกษาการนำเปลือกกล้วยน้ำว้ามาใช้ในการออกแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วย โดยกระบวนการออกแบบรูปแบบของตะกร้าสานเชือกกล้วยทั้งหมด 3 รูปแบบ ปัจจัยที่ทำการออกแบบคือ ทำแบบสำรวจข้อมูลเรื่องรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วย ที่ผู้ตอบแบบสำรวจต้องการมากที่สุด แล้วนำไปผลิตภาชนะสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 30 คน ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่า หลังจากทำแบบสำรวจข้อมูลเรื่องรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วย ที่ผู้ตอบแบบสำรวจเลือกรูปแบบที่ 1 ที่มีการจับจีบข้างบนให้เหมือนกับการห่อเกี๊ยวเพื่อที่จะใส่ไส้ลงไปข้างในแล้วห่อปากเกี๊ยวให้ปิดสนิทไม่ให้ออกมา ก็เปรียบกับการจัดเก็บอุณภูมิของอาหาร ส่วนโครงของตะกร้าลายสานจะเป็นเชือกกล้วยย้อมสีแดงและสีม่วง ตัดกับ สีครีมของเชือกกล้วยที่ไม่ได้ย้อมสี และจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกร้าสานเชือกกล้วยในด้านภาชนะ, ด้านการนำไปใช้ และความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ย 4.71, 5.00 และ 4.87
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
บุษรา สร้อยระย้า (2552) จากเส้นใยกล้วยมาเป็น เส้นใยกล้วยระบายร้อนได้ดี .คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนคร.2552.
บุษรา สร้อยระย้า และคณะ. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วย สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป (รายงานการวิจัย). ภาควิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพมหานคร.นครราชสีมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/ADMIN/Downloads/HEC-54-25.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565).
มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย (รายงานการวิจัย). ภาควิชาวิศกรรม เครื่องกล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://tsme.org/home/phocadownload/MENETT27 (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565)
ยงยุทธ จันทรอัมพร (2552) ผนังเฟอร์นิเจอร์จากใยกล้วย อิงธรรมชาติ. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร. คณะสถาปัตยกรรม,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก).
วารี กาลศิริศิลป์. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเชือกกล้วยมัดย้อม.วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,ปทุมธานี.
ศศิณัฎฐ์ หล่อธนารักษ์. (2558). การศึกษาคุณสมบัติการแปลรูปจากต้นกล้วยเพื่อนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้าน (รายงานการวิจัย). ภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.นครราชสีมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/644
สุจยา ฤทธิศร และคณะ. (2554). การผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้ Trichoderma viride (รายงานการวิจัย). ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.นครราชสีมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565).