การศึกษาผลการใช้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบอร์ดเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสอาดรังสิต ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสอาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บอร์ดเกมการศึกษา 2) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมบอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Wilcoxon matched pairs signed rank test
ผลการศึกษา พบว่า ผลการใช้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2550). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธีรภาพ แซ่เชี่ย. (2560). การใช้บอร์ดเกมประเภทวางแผนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รักชน พุทธรังษี. (2560). การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง. [ปริญญานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
รุ่งทิพย์ ศรสิงห์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ลักคะณา เสโนฤทธิ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรต.
วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรัตต์ อินทสระ. (2562). เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดานและองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40 (2), 107-132.
วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทเกม เพื่อให้ความรู้เรื่องกฏระเบียบและข้อปฏิบัติในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). Board Game Universe จักรวาลกระดานเดียว. กรุงเทพฯ: แซลมอน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,(2552), หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
เสรี วรพงษ์. (2557). สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1 (1), 161-176.
เสาวนีย์ จันทร์ที. (2546). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากธรรมชาติตามรูปแบบจิตปัญญาที่มีการรับรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรต.
อรนุช เวทย์สกุลพูลสุข. (2561). การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์กำแพงเพชร)
เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ใหม่โดยใช้เกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 14 (1), 54-59.