ผลของรากบัวผงต่อคุณภาพของไอศครีมนม

Main Article Content

ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์
อิสรภาพ แก้วแปงจันทร์
อิสรภาพ แก้วแปงจันทร์
พิไลรัก อินธิปัญญา

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาผลของผงรากบัวต่อคุณภาพทาง กายภาพเคมี และประสาทสัมผัสของไอศกรีม โดยศึกษาระดับของรากบัวผงเป็น 3 ระดับคือ 50 100 และ 150 กรัมตามลำดับ ทำการเติมรากบัวผงทั้ง 3 ระดับลงในส่วนผสมของไอศกรีม จากนั้นนำเอาไอศกรีมที่ได้ทำการเก็บรักษาไว้ที่ตู้แช่เยือกแข็งอุณหภูมิ -18 oC ก่อนจะนำไปทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างไอศกรีมทางด้าน กายภาพ เคมี และประสาทสัมผัส ผลการทดลองพบว่า ค่าความสว่าง (L*) ของไอศกรีมอยู่ในช่วง 27.60 – 55.05 ความเป็นสีแดง (a*) อยู่ในช่วง 0.37-2.97 และ ความเป็นสีเหลือง   (b*) อยู่ในช่วง 8.54 – 9.67 ตามลำดับ จากผลการวิจัยพบว่ารากบัวผงมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าความสว่างและความเป็นสีแดงแต่มีผลทางตรงกันข้ามกับค่าความเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ ไอศกรีมมีค่า โอเวอรันสูง (7-11% )และการละลายตัวต่ำ (1.25-15.75 กรัม)  เมื่อมีปริมาณของรากบัวผงปริมาณสูงในไอศกรีม ตามลำดับ ผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าไอศกรีมที่มีส่วนผสมของรากบัวผง 50 กรัมแสดงผลความชอบของผู้ทดสอบสูงสุดในทุกๆ ด้าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปริมาณของรากบัวผงมีผลต่อคะแนนความชอบของผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัส

Article Details

How to Cite
ภัทรฐิติวัสส์ ป. ., แก้วแปงจันทร์ อ. ., แก้วแปงจันทร์ อ. ., & อินธิปัญญา พ. . (2022). ผลของรากบัวผงต่อคุณภาพของไอศครีมนม. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(2), 71–76. สืบค้น จาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JHET/article/view/396
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ มะลิพันธ์. 2561.การใช้สารให้ความคงตัวในการพัฒนาไอศกรีมเนื้อนิ่มจากน้ำนมข้าวกล้อง. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ: การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 2 พ.ศ.2561

นิธิยา รัตนปานนท์. 2545. เคมีอาหาร. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพ.

นิธิยา รัตนปานนท์. 2557. เคมีนมและผลิตภัณฑ์นม. สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพ.

อรอนงค์ นัยวิกุล, นภาศรี ไวศยะนันท์ และสมจิตร ฤทธิ์หร่าย. 2526. น้ำนมและผลิตภัณฑ์นม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Chompoonuch Phueanphiphop.2015. Developing stability of Coconut milk Ice cream by Banana flour. RMUTP Research Journal special Issue.

Nawaporn Hongpan and Chansuda Adulyasaksakul. 2013. Effects of Modified Banana Flour and Commercial Stabilizers on Physicochemical and Sensorial Properties of Fresh Milk Ice Cream. Agricultural Science. Journal. 44(2) (Suppl.): 217-220

Medthai. 2556. บัวหลวง. แหล่งที่มา: https://medthai.com/บัวหลวง/, 21 กุมภาพันธ์ 2560.