การพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมมะเกลือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมสีมะเกลือและสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมสีมะเกลือจากกลุ่มตัวอย่างเจาะจง เฉพาะผู้ที่สนใจในเสื้อผ้าสไตล์วินเทจ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยด้านพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมสีมะเกลือ ซึ่งได้ชุดต้นแบบ 3 ชุด ด้านผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 21-23 ปี ด้านความรู้เรื่องผ้าไหมย้อมมะเกลือ เคยศึกษาเกี่ยวกับผ้าไหมย้อมมะเกลือ มีความชอบสีสันของผ้าไหมย้อมมะเกลือ คิดเป็นร้อยละ 52 ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจต่อรูปแบบเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมสีมะเกลือทั้ง 3 ชุด พบว่ามีความพึงพอใจต่อรูปแบบเสื้อผ้าสไตล์วินเทจจากผ้าไหมย้อมสีมะเกลือโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด อันดับ 1 คือ ชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 4.33 รองลงมาคือ ชุดที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.27 และอันดับสุดท้ายคือ ชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.12
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กนกวรรณ ยันตะบุศย์ และเกริกพล จ่าสมศรี (2563). การพัฒนาการย้อมสีดำเส้นไหมจากผลมะเกลือโดยการปรับปรุงพื้นผิวเส้นไหมด้วยพอลิเอทิลีนอิมีน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 22(1), 52-58.
กฤตมุข นาคปฐม. (2559). แผนธุรกิจแบรนด์เสื้อผ้าแนววินเทจสำหรับสุภาพบุรุษ Alte Kleidung. [การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สาขาวิชา วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กุลวรรธน์ คำแสน และณัฐวุฒิ แสนสุข (2563). ผงสีธรรมชาติจากถั่วดำ. สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิรนาม (1). (2559). งานข้อมูลท้องถิ่น. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565, จาก www.esanpedia.oar.Ubu.ac.th
ณัฐวุฒิ เงาะหวาน และเกษม มานะรุ่งวิทย์. (2565). การศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 15(1), 116-131.
ดวงนภา ม่วงคุ้ม. (2551). การตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ธรรมรัตน์ จรูญชนม์, ศุภาสี วงษ์ทองดี และอมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์, (2563). การประดิษฐ์โคมไฟด้วยเทคนิคการปักผ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าในการออกแบบ. วารสารราชพฤกษ์, 18(2), 42-53.
นันทนัช พิเชษฐวิทย์. (2540). การย้อมสีสิ่งทอ. ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญนำ พัชรปิยะกุล, สถาพร ประดิษฐพงษ์, พีรานุช เลิศวัฒนารักษ์, กัญญา ภัทรกุลอมร และพิพัฒน์ ชูจันทร์. (2559). การย้อมสีกระดาษสาด้วยสีธรรมชาติจากดิน. รายงานการประชุมวิชาการและ นำเสนอผลการวิจัยระดับชาติ และนานาชาติกลุ่มระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์, 1(1), 2866-2878.
บุญโรช ศรีละพันธ์. (2557). ภูมิปัญญาผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วย เขมร ลาว และเยอ ในจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พูลสุข บุณยเนตร. (2551). รายงานการวิจัย การลดฝุ่นผงในเส้นด้ายย้อมสีมะเกลือด้วยการอบไอน้ำ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นิรนาม (2). (2558). มารู้จักกับคำว่าวินเทจกันว่ามีความหมายว่าอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565, จาก https://www.เกร็ดความรู้.net
Songphan Wannamas. (2550) Transferring Lanna Local Wisdom to the Word chiangrai : Lanna. Textile center Chiang Rai Rajabhat University.
สุชานาถ บุญเที่ยง. (2559). ผ้าแส่ว : ต้นแบบลวดลายบนผืนผ้าแพรวา. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 56-70.