การประดิษฐ์และพัฒนาซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.506คำสำคัญ:
สิ่งประดิษฐ์และพัฒนา , ซีดีไบร์ท , ไล่แมลงวันบทคัดย่อ
การประดิษฐ์และพัฒนา “ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน และทดสอบความสามารถในการไล่แมลงวัน โดยใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วภายในโรงเรียนและท้องถิ่น เพื่อแก้ไข ปัญหาแมลงวันในโรงอาหารของโรงเรียน เพื่อไม่ให้มาตอมอาหาร และป้องกันโรคที่เกิดจากแมลงวันเป็นพาหะ ผลการประดิษฐ์และพัฒนา ทำให้ได้ ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน แบบแขวนมีที่เชื่อมต่อไฟฟ้า แบบที่ 2 แบบแขวนที่พัฒนาต่อยอดจากแบบที่ 1 นำแผงโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้พลังงานจากธรรมชาติ และแบบที่ 3 แบบตั้งโต๊ะ โดยใช้กระบะถ่านและมอเตอร์ ผลการทดสอบความสามารถในการทำงานของซีดีไบร์ท ไล่แมลงวันทั้ง 3 แบบ จากการสังเกตและสอบถามแม่ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าซีดีไบร์ทไล่แมลงวัน แบบที่ 2 เมื่อใช้แผ่นซีดี จำนวน 4 แผ่น และ แบบที่ 3 เมื่อใช้แผ่นซีดี จำนวน 2 แผ่น แขวน จะทำให้มอเตอร์ แกว่งเร็วพอดี แผ่นซีดีโดนมือแล้วไม่รู้สึกเจ็บ แผ่นซีดีสูงพอดี สามารถไล่แมลงวันได้ดี ไม่มีแมลงวันมาตอม ผู้ใช้มีความพึงพอใจทั้ง 3 แบบ โดยมีความพึงพอใจต่อแบบที่ 2 และแบบที่ 3 มากที่สุด เพราะแบบที่ 2 สามารถถอดประกอบได้ มีแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ หม้อแปลงไฟ หรือ inverter ชาร์จไฟกับชุดอุปกรณ์โซล่าเซลล์ที่มีอยู่แล้วในโรงเรียน ช่วยประหยัดไฟฟ้าโรงเรียน และ แบบที่ 3 มีขนาดกระทัดรัด มีกระบะถ่านต่อตรงกับมอเตอร์ DC ขนาด 12 โวลต์ ก้านโลหะแขวนแผ่นซีดี ทั้ง แบบที่ 2 และ แบบที่ 3 เคลื่อนย้ายสะดวก ใช้ได้ทุกที่ รวมทั้งสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเชื่อมต่อ ดังนั้นซีดีไบร์ท ไล่แมลงวันที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถไล่แมลงวันได้ช่วยกำจัดความรำคาญและป้องกันโรคที่เกิดจากแมลงวันเป็นพาหะได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ