การประดิษฐ์และพัฒนาซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.506คำสำคัญ:
สิ่งประดิษฐ์และพัฒนา , ซีดีไบร์ท , ไล่แมลงวันบทคัดย่อ
การประดิษฐ์และพัฒนา “ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน และทดสอบความสามารถในการไล่แมลงวัน โดยใช้วัสดุที่มีอยู่แล้วภายในโรงเรียนและท้องถิ่น เพื่อแก้ไข ปัญหาแมลงวันในโรงอาหารของโรงเรียน เพื่อไม่ให้มาตอมอาหาร และป้องกันโรคที่เกิดจากแมลงวันเป็นพาหะ ผลการประดิษฐ์และพัฒนา ทำให้ได้ ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ซีดีไบร์ท ไล่แมลงวัน แบบแขวนมีที่เชื่อมต่อไฟฟ้า แบบที่ 2 แบบแขวนที่พัฒนาต่อยอดจากแบบที่ 1 นำแผงโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้พลังงานจากธรรมชาติ และแบบที่ 3 แบบตั้งโต๊ะ โดยใช้กระบะถ่านและมอเตอร์ ผลการทดสอบความสามารถในการทำงานของซีดีไบร์ท ไล่แมลงวันทั้ง 3 แบบ จากการสังเกตและสอบถามแม่ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าซีดีไบร์ทไล่แมลงวัน แบบที่ 2 เมื่อใช้แผ่นซีดี จำนวน 4 แผ่น และ แบบที่ 3 เมื่อใช้แผ่นซีดี จำนวน 2 แผ่น แขวน จะทำให้มอเตอร์ แกว่งเร็วพอดี แผ่นซีดีโดนมือแล้วไม่รู้สึกเจ็บ แผ่นซีดีสูงพอดี สามารถไล่แมลงวันได้ดี ไม่มีแมลงวันมาตอม ผู้ใช้มีความพึงพอใจทั้ง 3 แบบ โดยมีความพึงพอใจต่อแบบที่ 2 และแบบที่ 3 มากที่สุด เพราะแบบที่ 2 สามารถถอดประกอบได้ มีแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ หม้อแปลงไฟ หรือ inverter ชาร์จไฟกับชุดอุปกรณ์โซล่าเซลล์ที่มีอยู่แล้วในโรงเรียน ช่วยประหยัดไฟฟ้าโรงเรียน และ แบบที่ 3 มีขนาดกระทัดรัด มีกระบะถ่านต่อตรงกับมอเตอร์ DC ขนาด 12 โวลต์ ก้านโลหะแขวนแผ่นซีดี ทั้ง แบบที่ 2 และ แบบที่ 3 เคลื่อนย้ายสะดวก ใช้ได้ทุกที่ รวมทั้งสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเชื่อมต่อ ดังนั้นซีดีไบร์ท ไล่แมลงวันที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถไล่แมลงวันได้ช่วยกำจัดความรำคาญและป้องกันโรคที่เกิดจากแมลงวันเป็นพาหะได้
References
กรมอนามัย. (2563). การควบคุมพาหะนำโรคแมลงวัน. Retrive from http://env.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/env/ewt_dl_link.php?nid=939
กฤษฎา หมื่นหนู, สนั่น ศุภธีรสกุล และ สุนทร พิพิธแสงจันทร์. (2552). การขับไล่แมลงวันแตง (Bactrocera cucurbitae coq.,Diptera : Tephritidae) ของเมล็ดสะเดาช้างและตะไคร้หอม. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 26-37. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal/article/view/68439
เคมอินอินคอร์โปเรชั่น. (2565). ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของแมลงวัน. Retrive from https://www. cheminpestcontrol.com/products/product-36
ฉวีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1-6), 183-197. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/34694
ซันเนอรี่. (2565). หลักการทำงาน ของแผงโซล่าเซลล์ (Solar cell) . Retrive from https://www.krungthepsolar.net/-solar-cell
ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ และ ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์. (2561). ผลของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือในการควบคุมแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae) . วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 102-106. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/143351/106109
สมชาย ใจบาน, แสงระวี ณ ลำพูน และ ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารสักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(2), 65-72.
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/243949
สมชาย ชมพูคำ. (2560). ประสิทธิผลของโครงการควบคุมแมลงวันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วารสารสถาบันและควบคุมโรคในเขตเมือง, 5(1), 83-94.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/243665
สุกฤษฏิ์ ใจจำนงค์, สุกัญญา นันทะ, คณิชา แจ่มจิต, บุหงา กาหลง และ วิลาสินี บุญเพชร. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์และแมลงพาหะนำโรคในชุมชนตลาด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(3), 63-73.
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/241567/166765
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก อ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. (2551). คู่มือวิชาการเรื่องการควบคุม เฝ้าระวังปัญหาเหตุรำคาญ. กรุงเทพ: องค์การทหารผ่านศึก.
อิสสริยา เอี่ยมสุวรรณ, วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต, อรัญญา จุติวิบูลย์สุข, สุวรรณา เสมศรี, ณัฐริณี หอระตะ และ ภูริต ธนะรังสฤษฎ์. (2564). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรด้วยเอทานอลในการไล่แมลงวันหัวเขียวในกระบวนการตากปลาสลิดแดดเดียว. วารสารนเรศวรพะเยา, 14(2), 83-92.
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/248061/172421
Affordable, S. (2022). The story of energy, when the inverter. Retrive from
www.affordable-solar.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ