การพัฒนาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแบบหยอดเหรียญพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • ภาพวิว ทะบรรหาร วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • กษิดิศ ธรรมวานิช วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • พรพรหม ลิขิตพงศธร วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • ภานุวัฒน์ ครุฑจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • วิศรุต อ้นทอง วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • ชลธิชา เหล็กกล้า วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • ชารินทร์ ลาฤทธิ์ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • นพนิรันดร์ น้ำจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.507

คำสำคัญ:

เครื่องชาร์จ , แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ , หยอดเหรียญ , พลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแบบหยอดเหรียญพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ให้บริการพลังงานสำรองสำหรับชาร์จโทรศัพท์ โดยมีเป้าหมายที่จะติดตั้งไว้ตามป้ายรถเมล์ หรือที่สาธารณะ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การออกแบบเชิงวิศวกรรม ผนวกกับคณิตศาสตร์ ใช้วงจร Arduino ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ในการเขียนโปรแกรม  มีแผงโซลาร์เซลล์เป็นแหล่งพลังงาน มีสวิตช์ที่  1 สำหรับปิด/เปิดเครื่องกรณีใช้ไฟ 220 AC เลี้ยงตัวเครื่อง สวิตช์ที่  2 สำหรับปิด/เปิดไฟจากโซลาร์ชาร์จเจอร์  สวิตช์ที่ 3 สำหรับปิด/เปิดเครื่องโดยใช้ไฟจากโซลาร์ชาร์จเจอร์ มีช่องสำหรับรับเหรียญได้ 4 ชนิด คือ เหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท มีจอ LCD แสดงสถานะจำนวนเงินและเวลา ช่องเสียบพอร์ต USB 4 ช่อง โดยนำเครื่องที่สร้างได้ไปทดลองการศึกษาปริมาณพลังงานที่ได้จากการชาร์จด้วยเหรียญที่มีมูลค่าต่างกันในสภาวะปิดเครื่องโทรศัพท์ โดยทดลองใช้กับโทรศัพท์ ยี่ห้อ ซัมซุงรุ่น A5 2016 พบว่า เมื่อหยอดเหรียญ 1 บาท เครื่องจะจ่ายพลังงาน เป็นเวลา 5 นาที ชาร์จได้ 6.33% เมื่อหยอดเหรียญ 2 บาท เครื่องจะจ่ายพลังงาน เป็นเวลา 10 นาที ชาร์จได้ 15.67% เมื่อหยอดเหรียญ 5 บาท เครื่องจะจ่ายพลังงาน เป็นเวลา 25 นาที ชาร์จได้ 35.33% และเมื่อหยอดเหรียญ 10 บาท เครื่องจะจ่ายพลังงาน เป็นเวลา 50 นาที ชาร์จได้ 64.67% และเมื่อนำไปทดลองใช้กับครูและนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์แบบสุ่มจำนวน 20 คน พบว่าระดับความพึงพอใจของครูและนักศึกษามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.81 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.39 อยู่ในระดับดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัฏรี ศรีดารานนท์, โสภา วิศิษฎ์ศักดิ์ และ โจเซฟ เคดารี. (2561). แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับอาคารในเขตร้อนชื้น. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 17(2), 11-24. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/arch-kku/article/view/105569

นพพร อำนาจบุดดี, ภัทร เกิดอินทร์, สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์, สนธยา เกาะสมบัติ และ ปิยวิทย์ เอี่ยมพริ้ง. (2550). การพัฒนาเครื่องบริการเติมแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือพลังงานแสงอาทิตย์. อุบลราชานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชานี.

พิณประกาย อบเชย และ เจษฎาพร นุ่มจันทร์. (2561). การออกแบบระบบโซล่าเซลล์ของระบบไฟส่องสว่างบนถนน ทางเท้าแบบเปิด – ปิดตามเวลาด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. กำแพงเพชร: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพชร.

พิษณุ สะเตวิน, สิทธิพงษ์ ขุนทองจันทร์ และ ณัฐชัย ทองสุข. (2554). เครื่องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือด้วย พลังงานแสงอาทิตย์. กรุงเทพ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2558). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-202. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/33370

อติสรณ์ อันสงคราม. (2558). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเซียลมีเดียของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ขอนแก่น: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

อภิวรรณ ศิรินันทนา. (2561). สมาร์ทโฟนกับสังคมก้มหน้า. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยรำไพพรรณี, 1(1), 55-71. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/254609

อัษฏางค์ บุญศรี, นิวดี คลังสีดา, กิตธิชัย ร่มยอถิ่นดง และ ภานุมาศ ช้ำเกตุ. (2562). การออกแบบและสร้างตู้ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่. กำแพงเพชร: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

Duffie, J. A., & Beckman, W. A. (1991). Solar Engineering of Thermal Processes. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10

How to Cite

ทะบรรหาร ภ. ., ธรรมวานิช ก., ลิขิตพงศธร พ., ครุฑจันทร์ ภ., อ้นทอง ว., เหล็กกล้า ช., ลาฤทธิ์ ช., & น้ำจันทร์ น. . . (2023). การพัฒนาเครื่องชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือแบบหยอดเหรียญพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(1), 35–47. https://doi.org/10.57260/stc.2023.507