แนวทางการพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.509คำสำคัญ:
พัฒนารูปแบบ, การติดตาม, วัณโรคปอดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การติดตามผู้ป่วยวัณโรคในจังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนารูปแบบการติดตามผู้ป่วยวัณโรคปอดในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และ
3) ประเมินผล โดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม เอ ไอ ซี กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ปฏิบัติงานด้านวัณโรคในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และชุดคำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรค และการประสานงานและติดตามผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง รูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษา ได้แก่ NON TB MODEL 1) N = NTIP การใช้โปรแกรม NTIP กำกับและติดตาม 2) O = Observation Therapy การกำกับการกินยาผ่านวิดีโอ 3) N = Network การสร้างเครือข่ายกำกับติดตามและประเมินผล 4) T = Training การพัฒนาศักยภาพบุคลากร) B = Best Practice การใช้แนวปฏิบัติที่ดี การประเมินผล พบว่า เจ้าหน้าสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาวัณโรคเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยได้รับการติดตามต่อเนื่องและกำกับการกินยาครบทุกมื้อ และมีอัตราสำเร็จการรักษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 93.75 ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับแนวทางการดูแลรักษาวัณโรคปีละ 1 ครั้ง และควรมีการกำกับการกินยาและติดตามผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีหน่วยงานอื่นๆ มามีส่วนร่วมเพื่อการป้องกันควบคุมวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2565). ศูนย์ข้อมูลวัณโรค (TBcm Data Center). สืบค้นจาก http://122.155.219.72/tbdc/frontend/web/index.php
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ฉันทนา ชาวดร และ เพชรไสว ลิ้มตระกูล. (2555). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 30(3), 78-86. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/3367
ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2565). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม : Mind Map® & AIC for Participatory Planning. สืบค้นจาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html
ผกายดาว พรหมสุรีย์. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคด้วย 3C model โรงพยาบาลน้ำยืน อุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(1), 1-10. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/252581
ศรีสุรางค์ ดวงประเสริฐ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(3), 522-534. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/247125
สินธุ์ สโรบล. (2552). วิธีวิทยาวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชน: บทสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเทศไทยและประสบการณ์จากต่างประเทศ. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2558). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
โสน เรืองมั่นคง, ทองเปลว ชมจันทร์, สัญญา โพธิ์งาม และ มนพร ชาติชำนิ. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพ การดูแลอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 50(3), 338-50. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/243443
อนุพันธ์ ประจํา. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยวัณโรค อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 7(1), 210-221. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalkorat/article/view/251354
อวินนท์ บัวประชุม และ วันเพ็ญ ปัณราช. (2559).การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34(3), 54-60. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/69014
World Health Organization. (2021). Treatment of tuberculosis guidelines for treatment of drug-susceptible tuberculosis and patient care 2021 update. Geneva, Switzerland: WHO/HTM/TB. 2021;05.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ